การทำงานในญี่ปุ่นเป็นความฝันของใครหลายๆคนรวมถึงสมัยยังเป็นนักศึกษาหรือแม้แต่ตอนที่เรียนจบใหม่ๆก็ฝันอยากทำงานที่ญี่ปุ่นหรือบริษัทญี่ปุ่นเพราะคิดว่าเงินเดือนดี(ประเด็ดแรก) โบนัสดี และได้ยินข่าวว่าเจ้านายจะดูแลเราดี คือบริษัทญี่ปุ่นเป็นบริษัทในฝัน งานญี่ปุ่น จริงๆ วันหนึ่งได้มีโอกาสมาใช้ชิวิตในญี่ปุ่นจนได้ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นในฐานะพนักงานเงินเดือนประจำหรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อซารารี่แมน(salaryman)แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้สวยหรูดูดีเหมือนอย่างที่เราฝันหรอกค่ะ work in japan

ข้อดีของการทำงานในญี่ปุ่น

บริษัทที่โอคซังทำอยู่เป็นบริษัทเล็กดังนั้นพนักงานต้องช่วยกันบริหารบางส่วนเองเพื่อเป็นการกระชับสัมพันธ์ เช่น การแบ่งคิวกันขัดห้องน้ำออฟฟิศ(ไม่มีแม่บ้านประจำออฟฟิศค่ะ)
พนักงานต่างชาติจะนั่งทำงานใกล้กันทำให้ค่อยช่วยให้คำแนะนำเรื่องงานต่อกันได้
เมื่อมีการทำงานและเข้าใจผิดกันจะรีบเรียกเคลียร์ ไม่ปล่อยให้ปัญหาค้างคาค่ะ
ไม่มีวัฒนธรรมการไล่ออก(จะเป็นการกดดันให้ลาออกซะมากกว่าแต่ถ้าเราไม่กดดันก็ทำงานได้เรื่อยๆค่ะ)
ได้เพื่อนใหม่ชาวต่างชาติมากมาย

ข้อเสียของการทำงานในญี่ปุ่น

หากไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นจะทำให้สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่นไม่รู้เรื่องค่ะและงานอาจจะทำได้ไม่ดี
หากเราทำงานแล้วเกิดข้อผิดพลาดจะมีการตักเตือนที่น่ากลัวมาก ตำหนิต่อหน้าสาธารณะเกิดความอับอายค่ะซึ่งตรงนี้เราเป็นคนไทยบางคำที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่เราคิดว่าเป็นคำที่รุนแรงแต่คนญี่ปุ่นอาจจะมองว่าเฉยๆก็ได้ค่ะ

ข้อดีของการเป็นพนักงานประจำ

1.การจ้างงานเป็นไปตามกฎหมายไม่ระบุระยะเวลาและมั่นคง นี่อาจเป็นข้อได้เปรียบที่สุดของการทำงานเป็นพนักงานประจำ เงื่อนไขที่บริษัทสามารถเลิกจ้างพนักงานประจำนั้นเข้มงวดมาก และเมื่อได้รับการว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำ งานญี่ปุ่น แล้ว ก็ไม่ง่ายที่จะเลิกจ้าง การลดจำนวนบุคลากรเป็นการดำเนินการของบริษัทโดยที่บริษัทจะต้องพิจารณาการเลิกจ้างพนักงานประจำเป็นลำดับสุดท้ายเนื่องจากมีข้อกำหนดมากมายเกี่ยวกับการเลิกจ้างและเงินชดเชยที่พนักงานประจำต้องได้หลังจากหารเลิกจ้าง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญมากสำหรับบริษัท ด้วยเหตุนี้พนักงานประจำจึงสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะตกงาน เว้นแต่จะก่อปัญหามากมายในการทำงานหรือทำผิดกฎของบริษัทอย่างร้ายแรง

2.ได้รับความน่าเชื่อถือทางสังคม เนื่องจากเป็นการบ่งบอกว่าบริษัทจ้างเป็นพนักงานประจำและได้รับการประกันรายได้ในการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องสินเชื่อและเงินกู้ การเป็นพนักงานประจำเป็นจุดสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เนื่องจากถือว่าสามารถชำระหนี้ได้โดยไม่มีการหยุดชะงักของรายได้เพราะเป็นพนักงานประจำ นอกจากนี้ เมื่อจะแต่งงานการเป็นพนักงานประจำเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ของอีกฝ่ายรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง

3.ได้รับเงินเดือนแม้ในวันหยุด ในรูปแบบการจ้างงานเต็มเวลาส่วนใหญ่ เงินเดือนจะเป็นรายเดือน ดังนั้นคุณสามารถได้รับเงินเดือนประจำทุกเดือนแม้ว่าจะมีวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็ตาม โดยทั่วไป ถ้าคุณไปทำงานในวันทำงานที่บริษัทกำหนดคุณก็จะได้รับเงินเดือนปกติ

4.มีประกันการจ้างงาน ส่วนใหญ่ เมื่อคุณทำงานเป็นพนักงานประจำ คุณจะได้รับสวัสดิการค่าประกันสุขภาพ เงินบำนาญ ประกันสังคมและสวัสดิการเบี้ยประกันอื่น โดยที่สวัสดิการพนักงานประจำนั้นนายจ้าง (บริษัท) จะช่วยพนักงานแบ่งจ่ายรายเดือนโดยจำนวนเงินส่วนที่พนักงานต้องจ่ายจะถูกหักออกจากเงินเดือน ในทางกลับกัน พนักงานนอกระบบจะต้องชำระค่าประกันสุขภาพแห่งชาติและเงินบำนาญด้วยตนเองแบบเต็มจำนวน!

5.โบนัส ความหมายของ “โบนัส” ก็คือเป็นเงินที่จ่ายพิเศษให้กับพนักงานเมื่อผลงานของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ดี ในญี่ปุ่นมีหลายบริษัทที่ได้รับโบนัสปีละ 2 ครั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาว แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ไม่สามารถทำได้เนื่องจากภาวะเศรษกิจที่ถดถอย บางบริษัทออกมาปีละครั้งเท่านั้นเพราะผลการดำเนินธุรกิจ พนักงานประจำจะได้รับโบนัสผลการดำเนินงานและตามผลประเมินการทำงานที่ได้รับ บางครั้งโบนัสจะมอบให้กับพนักงานที่ไม่ประจำเช่นพนักงานพาร์ทไทม์เช่นกัน

6.โอกาสในการขึ้นเงินเดือน คือการเพิ่มจำนวนเงินเดือนพื้นฐาน เมื่อทำงานเป็นพนักงานประจำ หลายๆ บริษัทมักจะขึ้นเงินเดือนปีละครั้ง และการเพิ่มเงินเดือนแบบนี้เรียกว่า “การเพิ่มเงินเดือนประจำ” นอกจากนี้ หากบริษัทเห็นว่าควรขึ้นเงินเดือน ก็อาจดำเนินการ “ขึ้นเงินเดือนชั่วคราว” ได้ในกรณีพิเศษ

7.ได้เปรียบเมื่อเปลี่ยนงาน เมื่อเปลี่ยนงานถ้าคุณต้องการทำงานเป็นพนักงานประจำที่บริษัทถัดไป บันทึกงานในฐานะพนักงานประจำที่บริษัทเก่ามีความสำคัญมาก ในกรณีของพนักงานสัญญาจ้างและพนักงานรับเหมาช่วง จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนว่าในเรซูเม่ และโดยพื้นฐานแล้วหากไม่ต้องการทักษะเฉพาะด้าน งานพาร์ทไทม์จะไม่ระบุในเรซูเม่ เนื่องจากความรับผิดชอบและตำแหน่งงานแตกต่างจากพนักงานประจำ

งานญี่ปุ่น.com

ข้อเสียของการเป็นพนักงานประจำ

1.ความรับผิดชอบสูง พนักงานประจำไม่ได้ถูกไล่ออกง่ายๆ แต่ต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานประเภทอื่น ในมุมมองของบริษัทพนักงานประจำต้องรับผิดชอบและร่วมกันเติบโตไปพร้อมๆกับบริษัท ต้องคำนึงถึงทั้งเรื่องผลประกอบการ กำไรของบริษัท คุณอาจได้รับตำแหน่งให้ดูแลและประสานงานกับพนักงานชั่วคราว พนักงานนอกเวลา พนักงานพาร์ทไทม์ และพนักงานชั่วคราวอื่นๆ

2.การได้งานเป็นพนักงานประจำเป็นเรื่องยาก อย่างแรกเลย การที่จะได้งานประเภทพนักงานประจำที่ญี่ปุ่นนั้นยากมาก หากคุณเป็นบัณฑิตใหม่และไม่สามารถหางานเป็นพนักงานประจำได้ คุณอาจจะต้องทดสอบเป็นพนักงานประจำได้ในปีถัดไป

3.คำสั่งย้ายแผนกหรือย้ายสาขา บริษัทที่มีสำนักงานสาขาหลายที่ พนักงานประจำอาจได้รับคำสั่งให้ย้ายแผนกหรือย้ายสาขา เป็นการยากมากที่จะปฏิเสธการย้ายแผนกหรือย้ายสาขา หากสัญญาจ้างระบุไว้อย่างชัดเจนว่าบริษัทสามารถสั่งให้โอนย้ายได้ คุณไม่สามารถปฏิเสธที่จะย้ายไปเว้นแต่คุณจะมีครอบครัว แต่บางทีคุณอาจจะต้องไปคนเดียว

4.จำเป็นต้องเลี้ยงลูกน้อง เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน ในฐานะรุ่นพี่ที่เป็นพนักงานประจำคุณอาจจำเป็นต้องพาไปเลี้ยงต้อนรับตามธรรมเนียม และต้องให้ความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณต่อไปในเวลาเดียวกัน หากผู้ใต้บังคับบัญชาทำผิดพลาด หัวหน้าจะรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาก็จะส่งผลต่อการประเมินของหัวหน้าด้วย work in japan

งานญี่ปุ่น.com

ลักษณะของรูปแบบการจ้างงานที่มิใช่พนักงานประจำในญี่ปุ่น

งานญี่ปุ่น.com

เราได้เห็นข้อดีและข้อเสียของพนักงานประจำ ที่เป็นการจ้างงานปกติแล้ว แต่ในที่นี้เราจะมาแนะนำลักษณะของการจ้างงานรูปแบบอื่นที่เรียกว่าการจ้างงานที่ไม่ประจำ

1.พนักงานสัญญาจ้าง พนักงานสัญญาจ้างคือพนักงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างงานไว้ล่วงหน้า ขีด จำกัด สูงสุดของระยะเวลาสัญญาจ้างคือ 3 ปีตามหลักกฎหมาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีเป้าหมายและแผนการชีวิตในอนาคตอันใกล้ เช่น “อยากเก็บเงินไปเรียนต่อต่างประเทศใน 3 ปี” และ “อยากได้รับประสบการณ์หลายปีในฐานะพนักงานสัญญาจ้างและเปลี่ยนงานเป็นงานอื่น” ในทางกลับกัน มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ผลประโยชน์ของพนักงานประจำอาจไม่นำไปใช้กับพนักงานสัญญาจ้าง และระยะเวลาการจ้างงานคงที่ ดังนั้นจึงไม่สามารถคาดหวังความก้าวหน้าในอาชีพภายในบริษัทได้ ข้อดีที่คุณสามารถเลือกงานที่ใช้ทักษะและประสบการณ์ของคุณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุณสามารถปรับเปลี่ยนระยะเวลาการจ้างงานและชั่วโมงทำงานตามไลฟ์สไตล์ของคุณได้ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการจ้างงานมีจำกัด และในกรณีส่วนใหญ่ จะไม่มีโบนัสหรือเงินช่วยเหลือเมื่อเกษียณอายุ ดังนั้นจึงเป็นข้อเสียเมื่อเทียบกับพนักงานประจำ และรับมอบหมายงานที่ไม่ต้องรับผิดชอบสูง

2.พนักงานพาร์ทไทม์ หมายถึงพนักงานที่ทำงานน้อยกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ต่อสัปดาห์ เงินเดือนมักจะจ่ายเป็นรายชั่วโมงหรือรายวัน เหมาะกับคนที่ทำงานเต็มเวลาได้ยากเนื่องจากการเจ็บป่วย ต้องดูแลครอบครัว การเลี้ยงลูก ฯลฯ คุณสามารถทำงานได้ภายในขอบเขตที่เหมาะสมโดยกำหนดจำนวนวันและชั่วโมงที่ต้องการทำงานที่คุณสะดวก งานที่ไม่ต้องใช้ประสบการณ์มากนักนั่นคือข้อดีของงานพาร์ทไทม์ ในทางกลับกัน ในหลายกรณี เงินเดือนรายชั่วโมงมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าพนักงานประจำและมีข้อเสีย เช่น การไม่ได้รับโบนัสและสวัสดิการอื่นๆ

หาสไตล์งานที่เหมาะกับคุณ

ปัจจุบันรูปแบบการทำงานรวมถึงรูปแบบการจ้างงานกำลังเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลาย ครั้งนี้ไม่เพียงแค่พนักงานประจำ, พนักงานสัญญาจ้าง, พนักงานรับเหมาช่วง, พนักงานพาร์ทไทม์ แต่ยังรวมถึงเจ้าของธุรกิจ, ฟรีแลนซ์, พนักงานคลาวด์ที่ได้รับงานผ่านบริการบนเว็บ งานหลากหลายรูปแบบปรากฏขึ้นมากมายในปัจจุบัน อาจเป็นเรื่องยากที่จะหารูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับคุณได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และค่านิยมที่คุณต้องการเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาความสุขในชีวิตของคุณ ขั้นแรก ให้เขียนเป้าหมายชีวิตของคุณ ไม่ว่าจะเป็นงานหรือส่วนตัว และจัดลำดับความสำคัญและจัดระเบียบมัน อาจเป็นความคิดที่ดีที่จะเลือกรูปแบบการทำงานที่ตอบสนองสิ่งที่คุณต้องการจัดลำดับความสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น ลองคิดกันอย่างเป็นรูปธรรมว่าคุณสามารถใช้คุณค่าแบบไหนในแง่ของงาน สภาพแวดล้อมแบบไหนที่คุณสามารถพัฒนาได้ และทักษะและความสามารถพิเศษใดที่คุณต้องการได้รับในอนาคต เพื่อหารูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับคุณ สิ่งสำคัญคือต้องมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน เส้นทางอาชีพของคุณ และอนาคตของคุณ

ครั้งนี้เราได้แนะนำรูปแบบการจ้างงานในญี่ปุ่นซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นการเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการเป็นพนักงานประจำที่ญี่ปุ่น การที่จะเลือกทำงานแทนที่จะมุ่งหวังที่จะเป็นพนักงานประจำเพราะ “มั่นคง” เพียงอย่างเดียว แต่มาทำความเข้าใจลักษณะของแบบการจ้างงานแต่ละแบบให้ถูกต้องและเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับคุณกันดีกว่า

5 ข้อดี และ ข้อเสีย ในการทำงานแบบคนญี่ปุ่น

ข้อดีจากการทำงานกับคนญี่ปุ่น

  1. ตรงเวลา
    เรื่องตรงเวลานี่ สุดยอดครับ ผมทำงานกับคนญี่ปุ่นมาหลายบริษัท ไม่เคยเจอใครที่มาสายแม้แต่ครั้งเดียว และส่วนมากมาก่อนเวลาประมาณ 15-30 นาที แทบจะทุกคน คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเวลามากๆนะครับ หากมีนัดกับเค้า อย่าไปสายเด็ดขาด
  1. พิถีพิถันละเอียดมากๆ
    คนญี่ปุ่นเป็นคนที่พิถีพิถัน และ ละเอียดมากๆ ในแทบจะทุกๆเรื่อง หากคุณต้องทำงานกับเค้า คุณต้องเข้าใจว่า เค้าเป็นคนแบบนั้นจริงๆ ดังนั้น สิ่งที่คนไทยมักจะบ่นเวลาทำงานกับคนญี่ปุ่นคือ “นิดๆหน่อยๆ เอง จะอะไรกันนักกันหนา”

3.การให้ความเคารพผู้อื่น
คนญี่ปุ่นจะเป็นคนที่ให้ความเคารพต่อผู้อื่นค่อนข้างมาก ยิ่งกับผู้ที่เป็นผู้ใหญ่หรือตำแหน่งสูง ยิ่งมีความเคารพและความยำเกรงสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางตัว การแต่งกาย (มักจะใส่สูท เพื่อให้เกียรติคู่ค้า)

4.ทุ่มเทกับการทำงาน
คนญี่ปุ่นเป็น ชาตินึง ที่ผมถือว่า เป็นผู้ที่ทุ่มเท อดทนกับการทำงานสูงมากที่สุดชาตินึงในโลกนี้ ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ วันหยุด ดึกดื่นแค่ไหน หากงานไม่เสร็จ ก็ต้องทำให้เสร็จ อาจจะเป็นเพราะโดนกำหนดเส้นตายมาจากหัวหน้างาน

  1. ความซื่อสัตย์ต่อองค์กรสูงมาก
    คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะทำงานเพียงแค่ 1-2 บริษัท เพราะฉะนั้นเวลาเจอแต่ละคน ก็จะอยู่ในบริษัทนั้นๆมาเป็นสิบๆปี ทำตั้งแต่หนุ่มๆยันแก่ และก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนบริษัทไปไหน รักองค์กรมาก ถึงมากที่สุด องค์กรให้ทำอะไร ทำได้ทุกอย่าง จะส่งไปที่ไหนในโลกนี้ ไปหมดไม่มีเกี่ยงงาน แต่ถ้าเป็นญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆ อาจจะเริ่มลดลงบ้างแล้วครับ

ข้อเสียที่เจอในการทำงานญี่ปุ่น

  1. ความมั่นใจในวิถีของตนเองสูง
    คนญี่ปุ่นมักจะมั่นใจในการทำงานในรูปแบบของตนเองสูงมาก และจะยึดถือสิ่งที่ทำประสบความสำเร็จในญี่ปุ่น มาเป็นแบบอย่างในการทำงานในที่อื่นๆ ในประเทศอื่นๆ โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ บางครั้ง ต้องให้ลองให้เกิดผลเสียหายไปสักหลายๆครั้ง ถึงจะเริ่มยอมเปลี่ยน แต่หลังๆ บริษัทที่เป็น Inter ก็จะเปลี่ยนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นตามที่ต่างๆบ้างแล้ว
  1. ยังคงพูดญี่ปุ่นเป็นหลัก
    ถึงแม้จะมีคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาอังกฤษได้เยอะขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังไม่มีพนักงานที่พูดภาษาอังกฤษได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมา คือ คุยกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ถึงแม้จะมีล่ามช่วยก็ยังมีปัญหา เพราะความเข้าใจต่างๆก็ยังเข้าใจกันยากครับ บางบริษัท ทำงานกับต่างชาติมาก็หลายปี ยังไม่คิดที่จะจ้างพนักงานที่พูดภาษาอังกฤษได้ก็มี จะคุยกันภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียว แต่บางที่ดีหน่อย มาทำงานกับคนไทย ก็มีจ้างพนักงานคนไทย ไว้คอยสื่อสาร แต่หากเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ Inter แล้วในข้อนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ครับ มักจะเจอกับบริษัทที่เพิ่งจะเริ่มออกมาทำธุรกิจในต่างประเทศ
  1. มีอะไรไม่พูดตรงๆ
    เวลามีปัญหาอะไร ไม่ค่อยพูดตรงๆสักเท่าไหร่ มักจะอ้อมไปๆมาๆ บางที่ในที่ประชุมก็ไม่ค่อยพูดซึ่งๆหน้าๆ ทำเหมือนนิ่งๆ เหมือนจะเข้าใจ แต่สุดท้ายก็ไม่เข้าใจ อันนี้อาจจะเป็นเรื่องความแตกต่างของวัฒนธรรม ที่ต้องพยายามจะเข้าใจและหาวิธีสื่อสารกันให้ดีที่สุดครับ
  1. ใช้เวลาในการทำงาน การตัดสินใจนาน
    คนญี่ปุ่นมักจะใช้เวลาในการดำเนินการ ในการตัดสินใจ ในการศึกษางาน ค่อนข้างนาน อาจจะเป็นเพราะระบบ ขั้นตอนต่างๆ ในบริษัท บางโครงการใช้เวลาเป็นปี ผมเคยเจอบาง Project คุยกันเกือบสองปี กว่าจะได้เริ่ม หรือบางทีคุยกันเป็นปี แล้วก็ไม่ทำต่อก็มีเช่นกัน แต่หากติดต่อกับทางฝั่งยุโรป หรือ อเมริกา มักจะใช้เวลาไม่นานมากสักเท่าไหร่
  1. เชื่อคนชาติเดียวกัน มากกว่าคนต่างชาติ
    ต่อให้เราเป็นคู่ค้าทำงานกับเค้ามานาน สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็จะฟัง คนชาติเดียวกันมากกว่า ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในการทำงาน เช่น หากเค้าอยากจะมาทำตลาดในไทย ต่อให้เราอธิบายให้ตายสักแค่ไหน เกี่ยวกับตลาดในบ้านเรา เค้าก็ไม่ค่อยจะเชื่อสักเท่าไหร่ แต่หากมีคนญี่ปุ่นที่มาอยู่ในไทยสักไม่กี่เดือน ไปบอกเค้า เค้าจะเชื่อคนๆนั้นทันที.. ซึ่งทำให้หลายๆครั้ง เค้ามักจะนำข้อมูลที่ผิดๆเพราะไม่เข้าใจในตลาดเมืองไทยได้ดีพอ