SSW (Specified Skilled Worker ) คืออะไร งานต่างประเทศ

ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดสถานภาพการพำนัก “Specified Skilled Worker (SSW)” ขึ้นมาใหม่ เพื่อเปิดรับบุคลากรต่างชาติที่ทำงานในสาขาอุตสาหกรรมบางส่วนของญี่ปุ่นในฐานะที่เป็นแรงงานพร้อมทำงานทันที ในหน้านี้ จะขอแนะนำข้อมูลสำหรับทุกท่านที่ต้องการใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและทักษะฝีมือที่ได้รับการฝึกฝนมาที่ผ่านมาให้เกิดประโยชน์และสร้างผล งานต่างประเทศ ในประเทศญี่ปุ่น

วีซ่าและ “สถานภาพการพำนัก” งานต่างประเทศ

โดยหลักการแล้ว ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องได้รับการออก “วีซ่า” ณ สถานทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศ (องค์กรของกระทรวงการต่างประเทศ) งานญี่ปุ่น แต่แม้จะมีวีซ่าแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้เสมอไป เมื่อเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ท่านจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่จำเป็นโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของกระทรวงยุติธรรมที่สนามบิน ฯลฯ และได้รับ “สถานภาพการพำนัก” ตามกิจกรรมที่จะทำในประเทศญี่ปุ่น “วีซ่า” และ “สถานภาพการพำนัก” จึงเป็นคนละขั้นตอนที่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของต่างหน่วยงานกันดังเช่นข้างต้น SSW ที่ได้แนะนำในหน้านี้เป็น “สถานภาพการพำนัก” ประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาใหม่

คุณสมบัติของ SSW

คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถทำงานในญี่ปุ่นในฐานะ SSW ได้จะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีทักษะฝีมือที่จำเป็นและมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่พร้อมจะทำงานในฐานะที่เป็นแรงงานทักษะเฉพาะทางทันทีโดยไม่ต้องรับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ จะมีการตรวจสอบทักษะฝีมือและความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นด้วยการสอบส่วนกลางที่ทางญี่ปุ่นจะดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ โดยหลักการแล้ว ครอบครัวจะไม่สามารถติดตามมาด้วยกันได้ และมีข้อจำกัดของระยะเวลาการทำงานที่รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี นอกจากนี้ ความแตกต่างที่สำคัญจากสถานภาพการพำนักอื่น ๆ ที่สามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่น คือ มีระบบที่สามารถขอรับการสนับสนุนที่มีขอบเขตครอบคลุมอย่างกว้างขวางในด้านความเป็นอยู่และการทำงานจากนายจ้าง นับตั้งแต่เมื่อเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งเดินทางกลับประเทศภูมิลำเนา
อีกทั้งยังมีอีกระบบที่เรียกว่า“ การเข้าฝึกงานด้านเทคนิค (Technical Intern Training)” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือในระดับนานาชาติโดยเมื่อได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ของญี่ปุ่นผ่านการฝึกงานที่หน้างานจริง และกลับประเทศของตนไปแล้ว ก็จะได้เผยแพร่เทคนิคดังกล่าวในประเทศภูมิลำเนา ผู้ที่สำเร็จการฝึกงาน (Training) ที่กำหนดในระบบนี้เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็นแบบ SSW ในสาขาเดียวกันได้โดยไม่ต้องเข้ารับการทดสอบทักษะและการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

ทักษะเฉพาะทาง (i)

สำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับสถานภาพเป็นผู้มีถิ่นพำนัก จะต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง หรือประสบการณ์มากพอในสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทางนั้นๆ

ระยะเวลาพำนักมีการต่ออายุทุก 1 ปี, ทุก 6 เดือน หรือทุก 4 เดือน รวมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
ระดับมาตรฐานของทักษะได้รับการรับรองโดยการทดสอบ ฯลฯ (ชาวต่างชาติที่ผ่านการฝึกงานด้านเทคนิค (ii) จะได้รับยกเว้นการทดสอบ)
ระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นตรวจสอบด้วยการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน (ชาวต่างชาติที่ผ่านการฝึกงานด้านเทคนิค (ii) จะได้รับยกเว้นการสอบ)
การนำสมาชิกครอบครัวติดตามมาด้วยโดยทั่วไปแล้วจะไม่อนุญาต

เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรที่ตอบรับหรือองค์กรสนับสนุนที่ได้รับการจดทะเบียน

ทักษะเฉพาะทาง (ii) คือ สถานะผู้อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติผู้ซึ่งทำงานที่ต้องอาศัยทักษะความเชี่ยวชาญในสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทาง

งานที่สามารถทำได้ในฐานะ SSW

สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

การบริบาลนอกเหนือจากการบริบาล ฯลฯ (ช่วยอาบน้ำ ป้อนอาหาร และจัดการของเสียที่ร่างกายขับออกมาตามสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ว่าจ้าง) ยังรวมถึงงานบริการสนับสนุนอื่น ๆ (เป็นผู้ช่วยในการสันทนาการและฝีกฝนการใช้งานร่างกาย ฯลฯ)
หมายเหตุ : ไม่รวมบริการการเข้าเยี่ยม

งานญี่ปุ่น.com

การจัดการความสะอาดอาคารการทำความสะอาดภายในอาคาร

งานญี่ปุ่น.com

สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมชิ้นส่วน เครื่องจักร และเครื่องมืองานหล่อแบบ, งานหลอมโลหะ, งานหล่อไดแคสต์, งานแปรรูปเครื่องจักร, งานบีบอัดโลหะ, งานโรงงานโลหะแผ่น,งานชุบเคลือบผิวโลหะ, งานชุบผิวอลูมิเนียม, งานตกแต่ง, งานสำรวจเครื่องจักร, งานดูแลรักษาเครื่องจักร, งานลงสี, งานเชื่อม

งานญี่ปุ่น.com

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลการแปรรูปเครื่องจักร, การบีบอัดโลหะ, งานโรงงานโลหะแผ่น, การชุบเคลือบผิวโลหะ, การตกแต่ง, การดูแลรักษาเครื่องจักร, การประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า, การผลิตแผงวงจรพิมพ์, การลงสี, การเชื่อม, การหีบห่อทางอุตสาหกรรม

งานญี่ปุ่น.com

อุตสาหกรรมเครื่องจักรในโรงงานงานหล่อแบบ, งานหลอมโลหะ, งานหล่อไดแคสต์, งานลงสี, งานเหล็ก, งานโรงงานโลหะแผ่น, งานชุบเคลือบผิวโลหะ,งานตกแต่ง,งานสำรวจเครื่องจักร, งานดูแลรักษาเครื่องจักร, งานบรรจุภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรม, งานประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, งานผลิตแผงวงจรพิมพ์, งานขึ้นรูปพลาสติก, งานบีบอัดโลหะ, การเชื่อม

งานญี่ปุ่น.com

สังกัดกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค ขนส่ง และการท่องเที่ยว

การก่อสร้างงานก่อสร้างแบบหล่อ, งานฉาบ, งานปั๊มคอนกรีต, งานก่อสร้างอุโมงค์, เครื่องจักรงานก่อสร้างและการก่อสร้าง, งานดิน, งานมุงหลังคา, โทรคมนาคม, งานเสริมความแข็งแรง, งานเชื่อมต่อโครงเสริมความแข็งแรง, งานตกแต่งภายใน / ติดตั้งวัสดุ, งานก่อสร้างบนที่สูง, งานช่างไม้ก่อสร้าง, งานเดินท่อ, งานก่อสร้างแผ่นโลหะ, การจัดการความร้อนและความเย็น, การฉีดฉนวนกันความร้อนยูรีเทน, วิศวกรรมนอกชายฝั่ง

งานญี่ปุ่น.com

การซ่อมและดูแลรักษารถยนต์การตรวจเช็กสภาพและดูแลรักษารถยนต์ประจำวัน, การตรวจสภาพและดูแลรักษาตามระยะเวลา, การถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์

งานญี่ปุ่น.com

การโรงแรมบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น แผนกต้อนรับส่วนหน้า, วางแผนและประชาสัมพันธ์, งานต้อนรับ, งานบริการในร้านอาหาร ฯลฯ

อุตสาหกรรมการต่อเรือและเครื่องจักรเรือการเชื่อม, การลงสี, งานเหล็ก, การตกแต่ง, การแปรรูปเครื่องจักร, การประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

การบินงานจัดการภาคพื้นดินของสนามบิน (บริการขับรถสนับสนุนภาคพื้นดิน กระเป๋าสัมภาระ และจัดการขนส่งสินค้า ฯลฯ), งานดูแลรักษาเครื่องบิน (ซ่อมบำรุงเครื่องบินและอุปกรณ์ ฯลฯ)

สังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง

การเกษตรงานปลูกพืชทำสวนทั่วไป (จัดการการเพาะปลูก การจัดเก็บ/จัดส่ง/จำแนกผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ), งานปศุสัตว์ทั่วไป (จัดการการเลี้ยงสัตว์ การจัดเก็บ/ขนส่ง/จำแนกผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ฯลฯ)

อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มการผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วไป (การผลิต/แปรรูป ความปลอดภัยและสุขอนามัยของอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมสุรา))

การทำประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำงานประมง (การผลิตและซ่อมแซมอุปกรณ์ทำประมง, ค้นหาสัตว์และพืชน้ำ, การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรทำประมง, การจับสัตว์น้ำและเก็บเกี่ยวพืชน้ำ, การจัดการและเก็บรักษาสิ่งที่จับหรือเก็บมาได้, การดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัย ฯลฯ), งานอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (การผลิต ซ่อมแซม และจัดการวัสดุการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การจัดการเพาะพันธุ์, การจัดเก็บ (เก็บเกี่ยว) และจัดการสัตว์น้ำกับพืชที่เพาะเลี้ยง, การดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัย ฯลฯ)

อุตสาหกรรมบริการด้านอาหารอุตสาหกรรมร้านอาหารทั่วไป (การทำอาหารและเครื่องดื่ม, การบริการลูกค้า, การจัดการ Store management)

ขั้นตอนที่จำเป็นก่อนมาทำงานในฐานะ SSW

อันดับแรก คุณสมบัติสำหรับชาวต่างชาติ มีดังต่อไปนี้ ผ่านการทดสอบทักษะและการทดสอบภาษาญี่ปุ่น (ชาวต่างชาติที่ผ่านการเข้าฝึกงานด้านเทคนิค (ii) จะได้รับการยกเว้น) ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนานกว่า 5 ปีภายใต้สถานภาพแรงงานทักษะเฉพาะทาง (i) ไม่มีการชำระเงินค้ำประกันหรือการจ่ายเงินชดเชยเพื่อยุติสัญญา คุณต้องเข้าใจรายละเอียดอย่างครบถ้วนหากมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากตนเอง<br>
ลำดับขั้นตอนโดยภาพรวมจนกระทั่งได้ทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นในฐานะ SSW อย่างไรก็ตาม
ชาวต่างชาติรายใหม่ที่มีกำหนดจะเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น เมื่อผ่านการทดสอบ (ทักษะ / ภาษาญี่ปุ่น) ในต่างประเทศแล้ว (ชาวต่างชาติที่ผ่านการเข้าฝึกงานด้านเทคนิค (ii) ได้รับยกเว้นการทดสอบ (ทักษะ / ภาษาญี่ปุ่น)) จะลงชื่อในสัญญาจ้างงานกับองค์กรที่ตอบรับ โดยการสมัครงานโดยตรง หรือ ผ่านนายหน้าหางานโดยบริษัทจัดหางานเอกชน
หลังจากนั้น เมื่อทำการยื่นขอหนังสือรับรองสภาพพำนัก (ยื่นหนังสือแทนโดยเจ้าหน้าที่องค์การที่ตอบรับ)  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำภูมิภาคก็จะส่งหนังสือรับรองสภาพพำนักไปยังองค์กรที่ตอบรับ จากนั้น องค์กรที่ตอบรับจะจัดส่งหนังสือรับรองสถานภาพพำนักไปยังสถานทูตในต่างประเทศ และยื่นขอวีซ่า เมื่อได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ลำดับถัดมาคือ การออกวีซ่า การเข้าประเทศ และการเริ่มทำงาน ณ องค์กรที่ตอบรับ

รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ

(1) การสอบเพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

ในการขอสถานะผู้อยู่อาศัยประเภท “ทักษะเฉพาะทาง” นั้น จำเป็นต้องสอบผ่าน “การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น (JFT-Basic)” หรือ “การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (JLPT)” ในระดับ N4 ซึ่งจัดสอบทั้งในประเทศญี่ปุ่นและในแต่ละประเทศ

* สำหรับ “การบริบาล” จำเป็นต้องผ่าน “การสอบประเมินภาษาญี่ปุ่นสำหรับงานบริบาล (Nursing care Japanese language evaluation test)” เพิ่มเติมอีกด้วย

(2) การทดสอบทักษะ

ในการขอสถานะผู้อยู่อาศัยประเภท “ทักษะเฉพาะทาง” นั้น จำเป็นต้องสอบผ่าน “การทดสอบทักษะ” ในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่จัดสอบทั้งในประเทศญี่ปุ่นและในแต่ละประเทศ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น