รายละเอียดงานก่อสร้าง (นั่งร้าน) งานญี่ปุ่น

รายละเอียด งานญี่ปุ่น

ประเภทของนั่งร้านที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 ประเภท

นั่งร้านไม้ไผ่

นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว

นั่งร้านเสาเรียงคู่

นั่งร้านแบบใช้ท่อเหล็ก

นั่งร้านแบบแขวน

นั่งร้านชนิดเคลื่อนที่ได้

CR: ขอบคุณเจ้าของเว็บไซด์ https://www.safesiri.com/what-is-a-scaffold/

เงินเดือน 200,000 เยน

นั่งร้าน เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับให้ช่างก่อสร้างปีนขึ้นไปที่สูง และเหยียบขึ้นไปเพื่อทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็น และเมื่อก่อสร้าง ซ่อมแซมงานเสร็จ จะเก็บนั่งร้านออกทันที ไม่มีการเก็บนั่งร้านไว้ วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรับวางยืน ในขณะที่บางท้องที่อาจมีการใช้ไม้ไผ่ได้

นั่งร้านแต่ละประเภทย่อมมีความเหมาะสมในการใช้งานเฉพาะอย่างตามสภาพการก่อสร้าง ผู้ใช้งานจะต้องเลือกประเภทให้เหมาะสมกับแต่ละงาน เพื่อความปลอดภัยในการใช้นั่งร้านควรพิจารณาดังนี้

1.สภาพสถานที่ และความเหมาะสมกับสถานที่

2.น้ำหนักบรรทุกที่ใช้งาน

3.ความประหยัด

4.ความสะดวกในการติดตั้ง และรื้อถอน

วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และสิ่งแวดล้อม โดย ส่วนใหญ่นั่งร้านนั้น จะทำจากเหล็กท่อ และมีแผ่นพื้นสำหรับรองรับผู้ปฏิบัติงาน หรือวางวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ซึ่งออกแบบโดยวิศวกร หรือ ผู้ผลิตของแต่ละประเทศ  แต่ในประเทศไทยนั้น สมัยก่อนนิยม ใช้ไม้ไผ่ นำมาสร้างนั่งร้าน เพื่อก่อสร้าง และทำงานบนที่สูง ปัจจุบันก็ยังพบเห็นนั่งร้านไม้ไผ่ ถูกนำมาใช้งานในการสร้างนั่งร้าน เพื่อก่อสร้างหรือซ่อมแซม ตัวอย่าง เช่นการสร้างตึกสูง  คอนโด บ้าน อาคาร วัด สะพาน  หรือ งานทาสี แต่ในการใช้ ไม้ไผ่สร้างนั่งร้านนั้น ผู้ที่ติดตั้งจะต้องเป็นวิศวกร หรือ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะนั่งร้านที่เป็นไม้ไผ่ ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ ไม่น้อยกว่าสี่เท่า ของน้ำหนักบรรทุก  แต่ถ้าเป็น เหล็กท่อ ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่า ถ้าเป็นนั่งร้านของต่างประเทศไม่น้อยกว่าสี่เท่าทั้งหมด งานญี่ปุ่น

การใช้นั่งร้านไม้ไผ่นั้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เพราะโดยส่วนใหญ่คนสมัยก่อนนั้น ไม่มีอุปกรณ์ ในการป้องกันการตกจากที่สูง จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงาน พลัดตกจากที่สูงได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต บ่อยครั้ง มีข่าวออกทางทีวีเป็นประจำ  ไม่ว่าจะเกิดจากการตกจากที่สูงหรือ นั่งร้านพังทลาย ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพไม้ไผ่และอายุการใช้งานนั้นด้วย เพราะจริงๆแล้วไม้ไผ่ที่นำมาสร้างนั่งร้านนั้น จะต้องเป็นไม้สด สีเขียว จึงจะสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับช่างนั่งร้านนั้นด้วย ในการประกอบติดตั้ง เป็นไปตามแบบที่วางเอาไว้ หรือสร้างด้วยความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้นั่งร้าน พังทลายได้เหมือนกันคนที่ทำงานกับนั่งร้านควรได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย ก่อนเริ่มทำงาน เช่น อบรมนั่งร้าน อบรมที่สูง อบรมไฟฟ้า เป็นต้น และวิธีการเก็บรักษาไม้ไผ่สดนั้น เมื่อใช้นั่งร้านแล้ว รื้อถอน เสร็จ จะต้องนำไม้ไผ่นั้นแช่น้ำเอาไว้ เพื่อให้ไม้ไผ่นั้นอยู่ คงสภาพเดิม  ปัจจุบัน ก็หาดูได้ยากแล้ว พอรื้อถอน นั่งร้านเสร็จ ช่างนั่งร้านนั้นก็จะเอาไม้ไผ่ กองรวมๆกันไว้ จึงทำให้ไม้ไผ่ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ กายเป็นไม้ไผ่สีน้ำตาล หรือ ไม้ไผ่แห้ง

ทั้งนี้ ก็อาจจะขึ้นอยู่กับ วิศวกร หรือ ผู้ว่าจ้างนั้นด้วย ส่วนใหญ่เราจะได้ยินข่าวกัน เป็นประจำทางทีวี หรือ ทาง Social ไม่ว่าจะเป็น คนงานตกที่สูง คนงานตกนั่งร้าน ของตกใส่คนงานด้านล้าง  นั่งร้านพังทลาย คนงานถูกไฟฟ้าช็อตตกลงมา  ตั้งนั่งร้านใกล้สายไฟ  เป็นต้น สาเหตุต่างๆ ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องของโชคชะตา หรือ เคราะห์กรรมไหมครับ  ส่วนตัวผมคิดว่า ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของคนงานเอง และที่ตามมาก็อาจจะเป็นการวางแผนในการทำงานไม่ดี  ส่วนอุปกรณ์นั้นก็มีส่วน เช่น อุปกรณ์ชำรุด ไม่ได้มีการตรวจสอบก่อนการใช้งาน  และไม่มีการปฏิบัติตามที่กฎหมายนั่งร้านกำหนด ทีนี้เดี๋ยวจะยกตัวอย่างการเกิดอุบัติเหตุให้ดูนะครับ 

กรณีศึกษาอุบัติเหตุ 

มีผู้รับเหมาเจ้าหนึ่งได้งานทาสีตึกสูงมีความสูงจากพื้นดิน 7 เมตร ไม่สามารถขึ้นอาคารทาสีได้เลย ช่างจะต้องติดตั้งนั่งร้านแบบล้อเลื่อน หัวหน้างานก็ให้คนงานติดตั้ง นั่งร้านแบบล้อเลื่อนขึ้นมา ประมาณ 6.5  เมตร เมื่อติดตั้งนั่งร้านเสร็จแล้ว หัวหน้างานก็ ให้คนงานขึ้นไปทำงานเลย  พอคนงานทำงานไปได้ระยะ หนึ่ง จำเป็นที่จะย้ายนั่งร้านไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งก็อยู่ติดกัน คนงานขาดการอบรม และชี้แจง ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่ด้านล่างนั้น มาดันหรือย้ายนั่งร้านให้ โดยที่ตัวเองไม่ลงมาจากนั่งร้านก่อน  เลยทำให้คนงานคนนี้พลัดตกลงมาจากด้านบน ทำให้คนงานบาดเจ็บสาหัส แขนซ้ายท่อนล่างหัก ขามีแผลขนาดใหญ่ ถามตอบไม่รู้เรื่อง เห็นไหมครับว่า ถ้าคนงานมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานที่สูง ก็อาจจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ขึ้นได้ ที่สำคัญนายจ้างหรือหัวหน้างาน จะต้องมีการวางแผนอบรมการทำงานกับนั่งร้าน หรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบ ขั้นตอนการทำงานก่อนทำงานทุกครั้ง และที่สำคัญอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมใส่อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการที่ปฏิบัติด้วยนะครับ

มาตรฐานนั่งร้าน

  ในส่วนของนั่งร้านทั่วไปนั้น จำเป็นต้องมีแบบที่เป็นมาตรฐานซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยที่จะใช้งานเป็นหลักนั่งร้าน จึงควรมีลักษณะมาตรฐาน ดังนี้

1. สำหรับนั่งร้านที่ทำด้วยไม้จะออกแบบเพื่อรับน้ำหนักไว้สูงสุดไม่เกิน 4 เท่า ของน้ำหนักที่จะใช้งานจริง

2. การใช้นั่งร้านนั้นมีข้อควรระวังคือ ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ชนิดเดียวกันและไม่ควรใช้แบบผสมผสานกัน

3. นั่งร้านที่สูงกว่า 2 เมตร จะต้องมีราวกันตก

4. นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้จะต้องใช้ไม้ที่ไม่ผุ เปื่อย และไม่มีรอยร้าวหรือ ชำรุดอื่นๆ ที่จะทำให้ขาดความแข็งแรงทนทาน

5. นั่งร้านที่เป็นโลหะ ต้องมีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่า 2,400 กก./ ตาราง ซม. และสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักของการใช้งาน

6. โครงนั่งร้านต้องมีการยึดโยง ค้ำยัน หรือตรึงกับพื้นดิน หรือส่วนของงานก่อสร้างเพื่อป้องกันมิให้เซหรือล้ม

7. ราวกันตก ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 ซม. และไม่เกิน 1.10 เมตร จากพื้นนั่งร้านตลอดแนวยาวด้านนอกของนั่งร้าน ยกเว้นเฉพาะช่วงที่จำเป็นเพื่อขนถ่ายสิ่งของ และนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว

8. ต้องจัดให้มีบันไดภายในของนั่งร้านและมีความลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา ยกเว้นนั่งร้านเสาเดี่ยว

9. ต้องออกแบบเผื่อไว้ให้นั่งร้านสามารถรับน้ำหนักผ้าใบสังกะสี ไม้แผ่น หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกัน นอกจากนี้จะต้องมีการบำรุงดูแลรักษาสภาพการใช้งานของนั่งร้านอย่างสม่ำเสมอ หากมีพายุ แผ่นดินไหว หรือเหตุที่ทำให้นั่งร้านเสียสมดุลต้องทำการซ่อมหรือปรับปรุงแล้วให้มีสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งานและที่สำคัญ คือพนักงานทุกคนจะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

ทำไมต้องใช้นั่งร้านญี่ปุ่น และนั่งร้านญี่ปุ่นดีกว่านั่งร้านทั่วไปอย่างไร

1. ความทนทานต่อการเกิดสนิม

  • นั่งร้านเหล็กทั่วไปจะมีการทำสีเพื่อพรางตาไม่ให้เห็นสภาพเก่าที่เป็นร่องรอยชำรุดและคราบสนิมแต่สีที่ใช้ก็ไม่มีคุณสมบัติหลักที่จะสามารถป้องกันสนิมที่จะเกิดตามมาในอนาคตได้
  • นั่งร้านญี่ปุ่นใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิม ซึ่งเป็นมาตรฐานงานนั่งร้านในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด มี 2 ลักษณะ
  1. การนำแผ่นเหล็กจุ่มลงในอ่างสังกะสีเหลวที่ความร้อนสูง(Hot Dip Galvanized)
  2. การชุบด้วยไฟฟ้า(EDP: Electro Deposit Painting)

ในกรณีที่มีการเตรียมผิวโลหะในความสะอาดระดับเดียวกัน การชุบแบบ Hot Dip จะป้องกันการเกิดสนิมได้ดีกว่าการชุบแบบไฟฟ้าEDP ซึ่งทั้ง2รูปแบบ คุณสมบัติในการป้องกันสนิมของ นั่งร้านญี่ปุ่นย่อมดีกว่านั่งร้านเหล็กทั่วไปเป็นอย่างมาก

2.ความสวยงาม

นั่งร้านเหล็กทั่วไป จะมีหลากหลายสีเมื่อประกอบใช้ที่โครงการจึงดูไม่สวยงามไม่เรียบร้อยและส่งผลให้อาคารหรืองานก่อสร้างที่ใช้นั่งร้านเหล็กเหล่านั้นดูด้อยคุณภาพลงทันที

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น