3 ปรัชญาญี่ปุ่นที่จะทำให้คุณมีความสุขกับ [ งานดูแลผู้สูงอายุ ] งานต่างประเทศ

ปรัชญาและแนวคิดของญี่ปุ่นสำคัญอย่างไรกับงานดูแลผู้สูงอายุ? งานต่างประเทศ

งานดูแลผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นเป็น งานต่างประเทศ ที่ต้องอาศัยความอดทนและความเข้าใจเป็นอย่างมาก หากเพื่อนๆ ไม่มีความอดทนหรือความเข้าใจมากพอ อาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานได้ เพราะการดูแลผู้สูงอายุที่อารมณ์แปรปรวน ช่วยเหลือตัวเองได้ยากไม่ใช่ง่ายสบายๆ ที่จะสามารถทำได้ง่ายๆ

ผู้เขียนจึงอยากเสนอปรัชญาและแนวคิดแบบชาวญี่ปุ่น ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งสำคัญบางอย่างที่ขาดไม่ได้ในการทำงานเป็นคนดูแลผู้สูงอายุค่ะ

เปิด 5 ข้อดีของการเรียนบริบาล จำเป็นไหม? ที่ไหนเปิดสอนบ้าง? | JAPAN DREAM  JOBS [TH]
งานญี่ปุ่น.com

ปรัชญาญี่ปุ่นที่ควรระลึกถึงเมื่อต้องทำงานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

1 ปรัชญาญี่ปุ่นที่ควรระลึกถึงเมื่อต้องทำงานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น : อิจิโกะ อิจิเอะ (一期一会)

ปรัชญาสำคัญของญี่ปุ่นที่หมายความว่า “การได้พบกันครั้งเดียว” มีต้นกำเนิดมาจากพิธีชงชาของนิกายเซน เนื่องจากการพบใครสักคนในพิธีชงชาอาจเป็นโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะได้พบเจอกันและอาจไม่มีโอกาสได้พบกันอีก ช่วงเวลาที่ได้พบกันจึงถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากที่สุดนั่นเอง

อิจิโกะ อิจิเอะ ถูกตีความและนำมาปรับใช้ในการทำงานว่าเราควรรักษาความสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้คนที่เราได้พบเจอหรือลูกค้าให้ดีที่สุด เพราะอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้พบเจอกัน

ในการทำงานดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน การนำปรัชญาญี่ปุ่นดังกล่าวมาใช้จะทำให้เพื่อนๆ ตระหนักถึงความสำคัญของทุกวินาที และทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจเพื่อสร้างความประทับใจ ความสุขให้แก่คนรอบข้าง และเพื่อนๆ จะไม่มีเสียใจเลยหากได้ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเต็มความสามารถแล้ว เช่นเดียวกับผู้สูงอายุภายใต้ความดูแลของเพื่อนๆ ที่จะได้รับสิ่งดีๆ ความสุขจากความตั้งใจและทุ่มเทของเพื่อนๆ นั่นเอง

งานดูแลบริบาลของญี่ปุ่นเป็นงานแบบไหนกันนะ | Japan Care Worker Guide
งานญี่ปุ่น.com

2 ปรัชญาญี่ปุ่นที่ควรระลึกถึงเมื่อต้องทำงานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น : โคดาวาริ  (こだわり)

ปรัชญาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า “วิถีแห่งการพัฒนา” เป็นปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ได้รับการยกย่องจากคนทั่วโลก ซึ่งเน้นไปที่ความตั้งใจที่แน่วแน่ในการทำบางสิ่งออกมาให้ดีที่สุด ใส่ใจในรายละเอียด พิถีพิถัน เรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ และโคดาวาริยังแฝงการสร้างความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่อีกด้วย

ในการทำงานเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่นนั่นอาจมีทั้งความกดดันทางด้านวัฒนธรรม ความต่างของวัย ภาษาและอื่นๆ อีกมากมายด้วยปรัชญา โคดาวาริ หรือ วิถีแห่งการพัฒนานี้จะทำให้เพื่อนๆ หมั่นเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาตัวเองในทุกๆ วัน ช่วยให้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในระหว่างการทำงานให้ออกไปได้นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าที่เล็กน้อยเพียงใด แต่จงภูมิใจที่พัฒนาตนเองมาถึงจุดนี้ได้และอย่าหยุดเพียงเท่านี้ นี่คือวิถีโคดาวาริ!

3 ปรัชญาญี่ปุ่นที่ควรระลึกถึงเมื่อต้องทำงานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น : คินสึงิ  (金継ぎ) 

ปรัชญาที่ว่าด้วยการเยียวยาจิตใจและมองเห็นความสวยงามของบาดแผลในชีวิต ซึ่งมาจากการซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อกันว่าภาชนะที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้างแต่ควรซ่อมแซมมันเพื่อให้มันกลับมามีชีวิตอีกครั้ง จนกลายเป็นศิลปะความสวยงามในความไม่สมบูรณ์นั่นเอง

เปรียบชีวิตของคนเราเสมือนถ้วยชาที่แตกร้าว การซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวนั้นอย่างใจเย็นและใส่ใจจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับและเคารพรอยแผล ความอ่อนแอและความไม่สมบูรณ์ทั้งในตัวเราและผู้อื่นเพื่อพบความสุขที่แท้จริงในชีวิต หรือเรียนรู้จากชิ้นส่วนที่แตกหัก นำมันมาประกอบประสานรอยแผลและเดินหน้าต่อไปค่ะ

เพื่อนๆ เองก็คงมีบางช่วงบางตอนในชีวิตที่ได้ทำผิดพลาดลงไป ก่อเกิดเป็นรอยร้าวในตัวเองแต่หากเพื่อนๆ เข้าใจ ยอมรับและจดจำไว้เป็นบทเรียน เรียนรู้จากมันก็จะทำให้เพื่อนๆ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ค่ะ ในงานดูแลผู้สูงอายุที่เราจะต้องเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างมีภูมิหลังแตกต่างกันไป หากเราสามารถเข้าใจรอยร้าวของผู้คนแล้ว เราจะสามารถรับมือกับเขาได้อย่างเข้าใจนั่นเอง

งานดูแลบริบาล | Japan Care Worker Guide
งานญี่ปุ่น.com

ปรัชญาญี่ปุ่นกับงานดูแลผู้สูงอายุ

เพื่อนๆ อาจเคยได้ยินปรัชญาญี่ปุ่นที่สำคัญอย่างอิคิไกมาบ้างแล้ว แต่วันนี้ผู้เขียนขอเสนอ 3 ปรัชญาญี่ปุ่นที่แตกต่างออกไปและสามารถปรับใช้กับงานดูแลผู้สูงอายุได้อย่างดี เพราะผู้เขียนเข้าใจว่างานดูแลผู้สูงอายุนั้นต้องเจอทั้งความยากลำบากในหลายๆ ด้านและถ้าหากเพื่อนๆ ต้องการที่จะอ่านเรื่อง

3สิ่งที่อยากบอกคนไทยเมื่อต้องมาอยู่ญี่ปุ่นระยะยาว เพื่อความสุขของตัวเอง

เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะกับที่หลายคนบอกว่า “ญี่ปุ่นคือประเทศที่เหมาะกับการมาเที่ยว มากกว่าการมาอยู่อาศัย” หรือ “คนญี่ปุ่นไม่ได้ดีอย่างที่เราคิดหรอกนะ” หรือ “นับถือในความเป็นระเบียบของชาวญี่ปุ่นจริงๆ” หรืออะไรอีกมากมายทั้งด้านดีและด้านลบ จากการผ่านศึกสงครามชีวิตในญี่ปุ่นมาได้สักระยะโอคซังจึงมีความในใจที่อยากจะบอกกับชาวไทยหลายคนที่กำลังจะได้มีโอกาสมาอยู่ในญี่ปุ่นทั้งในเร็วๆนี้หรือในอนาคตอันไกล ทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน หรือแม่บ้านพ่อบ้านทั้งหลายว่าสิ่งที่หลายคนบอกมามันจริงหรือไม่ รวมถึงวิธีการจัดการกับปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเองด้วยนะเออ อยากให้ทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่นี่ค่ะ

ญี่ปุ่นคือประเทศที่เหมาะกับการมาเที่ยวมากกว่าอยู่อาศัย?

เห้ยพูดเป็นเล่นประเทศญี่ปุ่นเนี่ยนะ! อากาศก็ดี บ้านเมืองก็สวยงามเป็นระเบียบ สวัสดิการรัฐก็ดี ทำไมถึงไม่ควรมาอยู่หล่ะ ก็เพราะความเครียดไงหล่ะค่ะ เพราะความเป็นระเบียบสุดๆของสังคมส่วนใหญ่ของที่นี่ ทำให้คนไทยหลายคนที่เพิ่งมาอยู่ปรับตัวกันไม่ทัน หรือถ้าปรับตัวก็ต้องใช้เวลามากกว่าคนทั่วไปที่เขาเกิดและโตที่นี่ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่คนไทยหลายคนเมื่อมาอยู่แรกๆจนไปถึงหลักหลายปียังคงตัดความคิดที่ว่าที่นี่ไม่เหมาะที่จะอยู่ออกไปไม่ได้ แล้วคิดอยากกลับบ้านเกิดเมืองไทยของเรากันทั้งนั้น

แต่สำหรับโอคซังในวันนี้ โอคคิดว่าทุกวันคือวันที่ดีค่ะ ตั้งแต่มาอยู่ที่ญี่ปุ่นสิ่งที่ได้ตอบแทนมามากที่สุดคือ “เวลา” เพราะความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมส่วนใหญ่ รถไฟ รถบัส การนัดหมายต่างๆที่ตรงต่อเวลา ทำให้สิ่งที่เราจัดการได้ดีคือเวลาเพราะอยู่ที่ไทยทำไม่ได้ค่ะพูดกันตรงๆ ทำให้เห็นค่าของเวลามากขึ้น ได้ใช้เวลาทำสิ่งที่เราชอบได้ มากขึ้นเช่นการนั่งเขียนบล็อคให้เพื่อนๆอ่านนี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ยิ่งในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้าถึงทุกที่ทำให้ไม่มีปัญหาในการรับข่าวสารหรือติดต่อครอบครัวที่อยู่ที่ไทยเลย ความห่างไกลที่วัดเป็นไมล์ไม่ได้ทำให้เราห่างไกลเมืองไทยเลย คิดถึงบ้านก็แค่นั่งเครื่องบิน6 ชั่วโมงเอง(ใช้เวลาน้อยกว่านั่งรถทัวร์กรุงเทพไปเชียงใหม่อีกนะคะ)

คนญี่ปุ่นไม่ได้ดีอย่างที่เราคิดหรอกนะ?

งานญี่ปุ่น.com

เพราะคนไทยส่วนใหญ่มักตั้งความหวังกับมาตรฐานความเป็นชาวญี่ปุ่นไว้สูงมาก คิดว่าคนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีความระเบียบและสถานะอยู่เหนือว่าเรา เพียงเพราะภาษาที่เขาใช้ต่างจากเรา เพียงเพราะเขาเกิดและโตที่นี่ และตัวเราจะตีค่าตัวเองให้ด้อยลงโอคเองก็เป็นค่ะ ทำให้ชีวิตไม่มีความสุขค่ะ จะทำอะไรก็ไม่สบายใจไปทุกอย่าง พอเกิดความขัดแย้งไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็มักจะมีคำพูดที่ว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นเป็นอย่างนั้น อย่างนี้นะ”

แต่เราลืมนึกไปหรือเปล่า ว่าคนญี่ปุ่นเองอาจจะตั้งคำถามแบบเดียวกันนั้นกับเราก็ได้?

วิธีแก้ไขเพื่อความสุขที่เพิ่มขึ้นของเราคือ เราต้องเริ่มที่จะปรับระบบความคิดหรือง่ายๆคือทัศนคติของเราก่อนค่ะ

  1. อย่าตีค่าตัวเองให้ด้อยลงกว่าใคร ไม่ว่าจะทำงานอะไร มาจากไหน แต่เราต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ เราก็มีทางเลือกแค่ “ใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นให้ไร้ความสุข” หรือ”ใช้ชีวิตในญี่ปุ่นให้มีความสุขสุดๆเหมือนบ้านตัวเองไปเลย”ถ้าเป็นคุณคุณจะเลือกแบบไหน?
  2. อย่าคิดว่าคนญี่ปุ่นคือคนญี่ปุ่น ให้คิดว่าทุกคนคือมนุษย์ที่เหมือนกัน มีรัก มีทุกข์ มีสุข มีหัวใจ มีความรู้สึกเหมือนกันหมดทุกคน คนญี่ปุ่นไม่ได้ดีไปกว่าใคร หรือคนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร แต่คนเราทุกคนเท่ากันค่ะ  ให้ตัดคำว่าเชื้อชาติที่เป็นเหมือนกำแพงอันใหญ่ออกไป แล้วเราจะพบว่าเราสามารถเป็นเพื่อนกับใครก็ได้ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนค่ะ
  3. มีความสุขและเรียนรู้กับสิ่งรอบตัวตลอดเวลา คนที่มาอยู่ญี่ปุ่นระยะยาวทุกคนโอคต้องขอคาราวะนะคะเพราะสมองต้องตื่นรู้ตลอดเวลากับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นที่นี่ เหมือนเราต้องปรับชีวิตของเราในทุกวันตั้งแต่ตื่นนอน การทำอาหาร การออกไปทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน การซื้อของ ถือว่าทุกวันคือวันใหม่เสมอหายใจเข้าลึกๆและพร้อมรับกับทุกวันค่ะ

พูดคำว่า “ขอบคุณ” มากกว่า “ขอโทษ”

คงคุ้นๆหูกันดีกับคำพูดของคนญี่ปุ่น เมื่อต้องการขอบคุณมักจะพูดว่า すみません(ซุมิมาเซน)หรือごめんなさい。(โกเมนนาไซ)ที่มีความหมายว่าขอโทษ เสมอๆ เพราะกระบวนการคิดของคนที่นี่เมื่อรับความช่วยเหลือของเรานั่นคือการรบกวนเรา เป็นการอ่อนน้อมถ่อมตัวลงไป ซึ่งในช่วงที่โอคมาอยู่3ปีแรกก็ถือคติเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามพูดขอโทษแทนคำขอบคุณกับทุกเหตุการณ์จนรู้สึกตัวเองด้อยคุณค่าลงทุกวัน เอาตรงๆเหมือนการสะกดจิตตัวเองให้ด้อยลงไปเรื่อยๆ จนรู้สึกเราตัวนิดเดียว ไม่ชินจริงๆเพราะเราไม่ได้โตมาในรูปแบบสังคมที่นี่ค่ะ ดังนั้นเราก็จะไม่ฝืนอีกต่อไป “ขอโทษในสิ่งผิด ขอบคุณในความมีน้ำใจ” โอคคิดว่านี่คือพฤติพรรมที่แท้จริงที่มนุษย์ทุกคนควรทำต่อกันเพื่อความเสมอเท่าเทียมค่ะ ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ทุกคนเป็นเพื่อนที่เท่ากัน หลังจากพยายามทำแบบนี้ ทำให้บรรยากาศในการใช้ชีวิตและปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้นแบบไม่รู้ตัวด้วยนะ

เมื่อก่อนโอคซังแทบหาความสุขกับการอยู่ที่นี่ไม่ได้แต่หลังจากปรับเปลี่ยนความคิดที่ตัวเรา ความสุขก็มาเคาะประตูหน้าบ้านทุกวัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น