การเปลี่ยนวีซ่า ทำงานญี่ปุ่น

  การเปลี่ยนวีซ่า  ทำงานญี่ปุ่น

คนต่างชาติที่เข้ามาพักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย  จำเป็นจะต้องมีวีซ่า  ซึ่งวีซ่าแต่ละชนิดก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป  ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่สามารถพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น  ขอบเขตประเภทของงานที่สามารถทำได้  ข้อจำกัดเรื่องเวลาในการทำงาน ทำงานญี่ปุ่น

แต่บางคนเมื่อมาอยู่ญี่ปุ่นแล้วเกิดปัญหาไม่สามารถใช้วีซ่าชนิดเดิมได้  ก็สามารถทำเรื่องเปลี่ยนชนิดวีซ่าได้  แม้บางคนไม่ได้เกิดปัญหาแต่เมื่อวีซ่าหมดอายุแล้ว  ยังไม่อยากกลับประเทศไทย  ก็สามารถทำเรื่องยื่นขอเปลี่ยนชนิดวีซ่าได้เช่นกัน

ซึ่งกรณีดังต่อไปนี้  ที่ถูกขอยื่นเปลี่ยนวีซ่าเป็นลำดับต้นๆ  

ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน  เปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน

เนื่องจากเมื่อวีซ่านักเรียนหมดอายุแล้ว  อยากอยู่ทำงานต่อที่ประเทศญี่ปุ่น  จำเป็นต้องหางานให้ได้ก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ

ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน  เปลี่ยนเป็นวีซ่า

เมื่อวีซ่านักเรียนหมดอายุแล้ว  หลายคนที่อยากอยู่ญี่ปุ่นต่อเพื่อทำงาน  แต่หางานเท่าไรก็หาไม่ได้สักที  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าหางานได้

ผู้ที่ทำการหย่าร้างกับสามีชาวญี่ปุ่น  เปลี่ยนเป็นวีซ่าพำนักระยะยาว

เมื่อแต่งงานและมาอยู่ญี่ปุ่นนานๆ บางคนก็อยากอยู่ญี่ปุ่นต่อ  ถึงแม้จะหย่าร้างแล้ว  บางกรณีก็สามารถยื่นเรื่องขอวีซ่าระยะยาวได้

ผู้ที่ทำการหย่าร้างกับสามีชาวไทยที่มีวีซ่าถาวร  เปลี่ยนเป็นวีซ่าพำนักระยะยาว

กรณีนี้ก็คล้ายๆ กับหย่าร้างกับคนญี่ปุ่น  ซึ่งสามารถขอวีซ่าพำนักระยะยาวได้  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละคน

ผู้ที่ถือวีซ่าฝึกงาน  เปลี่ยนเป็นวีซ่าแต่งงาน

หลายคนเมื่อมาฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น  ต้องการสร้างครอบครัวกับคนญี่ปุ่นหรือคนต่างชาติที่ถือวีซ่าบางประเภท  ก็สามารถยื่นขอวีซ่าแต่งงานได้

ผู้ที่ถือวีซ่าทำงาน  เปลี่ยนเป็นวีซ่าธุรกิจ / ผู้บริหาร

บางคนที่ทำงานอยู่ญี่ปุ่นนานๆ มีลู่ทางที่จะทำธุรกิจก็สามารถเปลี่ยนวีซ่าได้  โดยมีเงินลงทุน 5,000,000 เยน

 ผู้ที่ถือวีซ่าธุรกิจ  เปลี่ยนเป็นวีซ่าแต่งงาน

คนที่ถือวีซ่าธุรกิจ / ผู้บริหาร  เมื่อแต่งงานแล้วไม่ว่าจะเป็นแต่งกับคนญี่ปุ่นหรือคนไทย  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าแต่งงานได้

 ผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัว  เปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน

เนื่องจากวีซ่าติดตามครอบครัวสามารถทำงานได้ไม่เกิน 28 ชั่วโมง  ต่อสัปดาห์  หากหางานประจำได้  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงานได้

 ผู้ที่ถือวีซ่าติดตามครอบครัว  เปลี่ยนเป็นวีซ่าแต่งงาน

บางคนติดตามคู่สมรสมาอยู่ญี่ปุ่น  แต่เกิดปัญหาต้องหย่าร้างกัน  เมื่อทำการแต่งงานใหม่ไม่ว่าจะแต่งกับคนไทยหรือคนญี่ปุ่น  ก็สามารถยื่นขอวีซ่าแต่งงานได้

  การพิจารณาอนุมัติในการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนวีซ่า  

การยื่นเรื่องขอเปลี่ยนวีซ่านั้น  มีกฎการพิจารณาเหมือนกันกับการต่อวีซ่า  ซึ่งมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพียงพอต่อการยื่นขอเปลี่ยนวีซ่าตามเงื่อนไขที่นิวกังวางไว้
  • ไม่มีประวัติการทำผิดกฎหมาย
  • ประกอบอาชีพสุจริต
  • ไม่มีประวัติการทำผิดกฎหมาย
  • ประกอบอาชีพสุจริต
  • จ่ายภาษีครบถ้วน
  • มีการแจ้งนิวกังทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนงาน
  • มีการแจ้งนิวกังทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว เช่น หย่าร้าง  คู่สมรสเสียชีวิต

ผู้ที่ถือวีซ่านอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น  อยากเปลี่ยนเป็นวีซ่าชนิดอื่นๆ สามารถมาปรึกษาได้นะครับ  เนื่องจากญี่ปุ่นมีชนิดวีซ่าเยอะมากๆ และปัจจุบันยังมีชนิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย 

งานญี่ปุ่น.com

วีซ่าทำงาน

วีซ่าทำงานหรือที่คนทั้วไปเรียกกันเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า  就労ビザ (shurou visa)  มีมากมายหลายชนิด โดยวีซ่าที่ชื่อว่า  งานด้านวิศวกรรม มนุษยศาสตร์ และงานระหว่างประเทศ  技術・人文知識・国際業務  (gijutsu ・jinbunchishiki ・kokusaigyoumu) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า 技・人・国 (gijinkoku) ก็เป็นวีซ่าทำงานชนิดหนึ่ง

โดยวีซ่าชนิดนี้มีเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี
  • หากไม่จบปริญญาตรี ก็ต้องจบวิทยาลัยวิชาชีพ (専門学校)จากประเทศญี่ปุ่น
  • ทำสัญญาว่าจ้างระยะยาวเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป กับบริษัทที่มีสาขาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นบริษัทญี่ปุ่นหรือบริษัทต่างชาติก็ได้
  • งานที่จะทำนั้นมีความเกี่ยวข้องกันไม่มากก็น้อยกับสาขาที่เรียนมา สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
  • งานที่จะทำนั้นต้องมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง สำหรับผู้ที่จบวิทยาลัยวิชาชีพ (専門学校)
  • ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงาน
  • บริษัทผู้ว่าจ้างมีความเหมาะสม เช่น มีใบอนุญาตถูกต้อง มีความมั่นคงพอสมควร

ผู้ที่ถือวีซ่าชนิดนี้ หากต้องการย้ายบริษัทโดยที่ยังไม่หมดสัญญา ต้องแจ้งต่อนิวกังภายใน 14 วัน และควรยื่นใบรับรองการทำงาน

(就労資格証明書)เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในการต่อวีซ่า อย่าลืมระวังตรงนี้ให้ดีนะครับ หลายคนพึ่งจะมารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ต่อวีซ่าแล้วไม่ผ่าน

การยื่นขอวีซ่าชนิดนี้ หากทางบริษัทไม่เคยมีประสบการณ์ในการยื่น โดยเฉพาะถ้าหากงานที่จะทำเกี่ยวข้องกันน้อยมากกับสาขาที่จบมา ควรมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญดีกว่านะครับ เนื่องจากการที่ต้องอธิบายให้ทางนิวกังเข้าใจให้ได้ ว่างานที่จะทำนั้นมีความเกี่ยวข้องยังไงกับสาขาที่เรียนมานั้นมีความซับซ้อนพอสมควรเลยครับ

วีซ่านักเรียนเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน

วีซ่านักเรียนเปลี่ยนเป็นวีซ่าทำงาน

ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนนั้น หากต้องการทำงาน จำเป็นต้องยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชนิดวีซ่า โดยผู้ที่จะขอยื่นเปลี่ยนวีซ่าได้นั้น ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้

สัญญาว่าจ้างมีระยะยาวพอสมควร

ทำงานตรงกับสาขาที่เรียนจบมา ซึ่งผู้ที่เรียนจบระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไปนั้น หากไม่ได้ทำงานในสาขาที่เรียนจบมาโดยตรง แต่มีความเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยก็จะได้รับการผ่อนผัน และยังสามารถทำงานเป็นล่าม นักแปล ครูสอนภาษาได้ ถึงแม้จะไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ก็ตาม

ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงาน

มีความประพฤติเหมาะสม เช่น

ไม่ทำงานเกิน 28 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ในช่วงที่ถือวีซ่านักเรียน

แจ้งทางการทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่

บริษัทผู้ว่าจ้างมีความเหมาะสม เช่น

มีใบอนุญาตถูกต้อง

มีความมั่นคงพอสมควร

เปลี่ยนประเภทวีซ่า / Change type of visa

เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าเพื่อทำงาน (NON-B)

(ต้องมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า ๒๑ วัน อยู่เกินในราชอาณาจักรไม่สามารถยื่นคำร้องได้) 

1.แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(แบบ ตม.86)        แบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบ ตม.87)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง 

3.รูปถ่ายขนาด 4*6 ซ.ม. จำนวน 1 รูป  

4.ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท 

5.หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างงานคนต่างด้าว และขอความร่วมมือในการขอรับ  หรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ , ตำแหน่ง , ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยนวีซ่าจาก ผ. 30 หรือ TR เป็น NON-B) 

6.หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบของกรมการจัดหางาน ซึ่งสามารถ download จากเว็บไซต์ของ กระทรวงแรงงาน) 

7.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล 

8.สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล 

9.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 

10.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 

11.สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภพ.01ภพ. 20 และ สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน 

12.สำเนางบดุลบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) 

13.สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) 

14.ในกรณีที่ ภ.ง.ด.50(หน้า 5 บรรทัดที่ 3) ไม่ได้ระบุค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งบริษัทที่เปิดใหม่ยังไม่ครบรอบบัญชี  ไม่มีงบการเงินและ ภงด.50 ให้แสดงสัญญาเช่า บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์

15.สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและกองนิติกรณ์

16..สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย ( ภ.ง.ด.1)(ย้อนหลัง 3 เดือน)

17.แผนที่บริษัท

18.กรณีบริษัทได้รับการสงเสริม BOI ให้แสดงหนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน , การนิคมอุตสาหกรรม หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หากไม่มีให้แสดงหนังสืออนุมัติตำแหน่งจาก BOI

ขอบคุณเว็บไซด์ : http://fukada-office.kilo.jp

https://www.thaivisacenter.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น