แรงงานที่ญี่ปุ่นต้องการ Work japan

อันดับ 1 Work japan

ฟาร์มเลี้ยงสัตว์

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจำนวนสุนัขและแมวมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อันเป็นผลมาจากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ และอัตราการเกิดที่ลดต่ำลง คนญี่ปุ่นจึงนิยมมีสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนและนับเป็นสมาชิกของครอบครัว บ่อยครั้งที่จะได้เห็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัขในชุดที่ตัดเย็บมาเป็นพิเศษตามฤดูกาล โดยมีเจ้าของคอยจูงบนท้องถนนในญี่ปุ่น นอกจากนี้มีร้านจำหน่ายอุปกรณ์-อาหารสุนัข สถาบันฝึกสุนัข รวมทั้งโรงแรมสุนัขเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งแสดงถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในญี่ปุ่นที่กำลังขยายตัวได้ดีอัตราการขยายตัวของสัตว์เลี้ยงและโอกาสทางการตลาดของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ปัจจุบันจำนวนสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวในญี่ปุ่นมีถึงประมาณ 25 ล้านตัว และอัตราส่วน 1 ใน 3 ของครัวเรือนในประเทศที่มีสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนโดยแนวโน้มอัตราการขยายตัวของสัตว์เลี้ยงดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากจำนวนครัวเรือนและจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้อุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องมีมูลค่าทางการตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ

  • ธุรกิจขายและเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง
  • เนื่องจากในปัจจุบันญี่ปุ่นยังไม่มีกฎหมายควบคุมการเพาะพันธุ์และการจำหน่ายสัตว์เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์และนำเข้าสัตว์เลี้ยงได้อย่างเสรี คนญี่ปุ่นสามารถเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้โดยง่าย เพียงการเข้าไปหาซื้อตามร้าน pet shop โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ซื้อแต่อย่างใด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการสนับสนุนให้ตลาดสัตว์เลี้ยงในญี่ปุ่นขยายตัว งานญี่ปุ่น

    อันดับ 2

    การแปรรูปอาหาร

    1 เพื่อการถนอมอาหาร (food preservation) เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการแปรรูปอาหาร เป็นวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้เสื่อมเสียได้ง่าย การแปรรูปอาหาร เป็นมีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารถนอมรักษาคุณภาพอาหารด้านต่างๆ ของอาหารให้ใกล้เคียงของสด ชะลอและป้องกันการเสื่อมเสีย (food spoilage) ของอาหารทั้งการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ (microbial spoilage) การเสื่อมเสียเนื่องจากปฏิกริยาทางเคมี และ การเสื่อมเสียทางกายภาพเพื่อให้มีอาหารบริโภคได้ตลอดทั้งปี และสามารถจำหน่ายได้กว้างขวางขึ้น

    2. เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยต่อบริโภค เพราะกระบวนการต่างๆที่ใช้เพื่อการแปรรูปอาหารตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ เช่น การล้างการคัดคุณภาพ รวมทั้งกรรมวิธีการถนอมอาหาร เช่น การแปรรูปอาหารด้วยความร้อน การแช่เยือกแข็งอาหาร การทำแห้งมีเป้าหมายเพื่อให้อาหารปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากอันตายในอาหาร (food hazard) ได้แก่ อันตรายจากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) สารเคมีที่อาจปนเปื้อนมากับอาหาร กำจัดสารพิษต่างๆที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ ทำให้อาหารมีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัย (food safety) ในระดับชาติ และระดับสากล เช่น GMPHACCPBRC เป็นต้น

    3. เพื่อเพิ่มมูลค่า (value added) ให้กับอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร การเพิ่มมูลค่าอาหารอาจทำได้หลายมิติ เช่น ในแง่ของการผลิต อาจพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลผลิต ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหารในด้านการตลาดการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ดึงดูดความสนใจ หรือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความแตกต่าง สำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น

    4. เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางทั้งในวงกว้าง และตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เช่น อาหารสำหรับเด็ก อาหารสำหรับผู้รักสุขภาพ อาหารสำหรับนักกีฬา อาหารสำหรับผู้บ่วยเฉพาะโรค

    5. เพื่อสะดวกแก่การบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปทำให้ผู้บริโภค ง่าย สะดวก รวดเร็ว ในสภาวะที่เวลาที่เร่งรีบ ลดเวลาในการเตรียมอาหาร และการนำไปแปรรูปต่อ

    6. การขนส่งและการเก็บรักษา เช่น เครื่องดื่มผง มีน้ำหนักเบา ขนส่งสะดวก และเก็บรักษาได้นานที่อุณหภูมิห้อง

    อันดับ 3

    งานบริบาล

    หนึ่งในอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง คือ ภาคการดูแลผู้ป่วยระยะแรก ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมนี้กลับมีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ถือเป็นอีกทางเลือกในงานที่มีรายได้ที่มั่นคงสำหรับทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ

    วันนี้เรามีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมสถานพยาบาลแห่งหนึ่งในโตเกียว เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับโอกาสในการทำงานในอนาคตและสิ่งที่คาดหวังจากการทำงานในภาคการดูแลพยาบาลที่ประเทศญี่ปุ่น

    การดูแลผู้สูงอายุในสถานที่อยู่อาศัย หมายถึง การช่วยเหลือพวกเขาด้วยสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ช่วยซักผ้า ทำอาหาร ทำความสะอาด อาบน้ำ และเข้าห้องน้ำ รวมถึงการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การเล่นเกมเป็นครั้งคราวและเดินเล่นนอกสถานที่ ซึ่งในระหว่างการทำงานจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยอยู่ไม่ห่างและพวกเขาก็มีความยินดีที่จะช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

    นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้าที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นสำหรับผู้สูงอายุและยังทำงานได้ง่ายขึ้นสำหรับเจ้าหน้าที่พยาบาล มีเตียงพิเศษและระดับความสูงที่สามารถปรับได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น การเคลื่อนย้ายคนเข้าและออกจากเตียงจึงง่ายกว่ามาก

    การขาดแคลนแรงงาน ในประเทศญี่ปุ่น

    ขณะที่แรงงานไทยกำลังตกงาน ที่ญี่ปุ่นสถานการณ์ ดูเหมือนจะตรงกันข้าม คือหาคนงานยากเมื่อไม่กี่วันนี้ผู้เขียนนั่งดูรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นออกข่าวเล็กๆ แต่น่าสนใจว่า ญี่ปุ่นกำลังขาดแคลนแรงงานอย่างหนักในปีที่ผ่านมา โดยมีบริษัทห้างร้านราว 500 แห่ง ต้องปิดกิจการเนื่องจากเหตุผลด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยส่วนใหญ่ (270 แห่ง) หาคนรับช่วงต่อไม่ได้ 78 แห่ง หาลูกจ้างไม่ได้ 44 แห่ง คนงานลาออกหรือเกษียณ และ 34 แห่ง เลิกกิจการเนื่องจากต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์การขาดแคลนแรงงานในญี่ปุ่นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางจนมีศัพท์เรียกการขาดแคลนแรงงานว่า “hitode busoku”

    ผู้เชี่ยวชาญคาดประมาณว่าในปี 2573 หรืออีกสิบปีข้างหน้าญี่ปุ่นจะต้องการแรงงาน 70.7 ล้านคน โดยจะมีอุปทานแรงงานราว 64.3 ล้านคน ทำให้จะมีการขาดแคลนแรงงานถึง 6.4 ล้านคน

    งานประเภทใดที่ขาดแคลนแรงงาน-ในต้นปีผ่านมา จากสถิติของญี่ปุ่น (Teikoku Databank) มีผู้เอาไปจัดอันดับ 10 งานที่ประสบปัญหาความขาดแคลนแรงงาน (ญี่ปุ่น) มาก ดังนี้ คือ

    อันดับ 10-อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่พบว่ามีแรงงานน้อยมาก แม้แต่บริษัทใหญ่ๆ อย่างโตโยต้าก็ยังดิ้นรนหาแรงงานและต้องออกนโยบายเอาใจแรงงานไว้ เช่น อนุญาตให้ย้ายโรงงานได้ถ้าต้องการ เป็นต้น อันดับ 9-งานขายของหน้าร้าน พบว่าแรงงานที่ทำงานในกิจการขายของต้องทำงานวันละหลายชั่วโมง ได้ค่าจ้างต่ำ มีวันหยุดน้อย คนรุ่นใหม่ไม่อยากทำงานในร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านเครื่องไฟฟ้า

    อันดับ 8-งานวิทยุกระจายเสียง พบว่าในปี 2560 ร้อยละ 80 ของบริษัทกระจายเสียงขาดแคลนแรงงาน คนที่เคยทำงานแบบนี้บอกว่าเป็นงานหนัก ต้องทำงานวันละหลายชั่วโมง และค่าจ้างไม่ค่อยคุ้ม และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ การขยายตัวของเว็บไซต์ เช่น You Tube และ Netflix ทำให้งานทีวีน่าสนใจน้อยลง อันดับ 7-งานร้านอาหารและภัตตาคาร ดูเผินๆ ก็น่าทำเพราะเวลารับคน ทางร้านมักจะติดป้ายว่า “ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์” แต่ความจริงมีเรื่องต้องเรียนรู้มากมายโดยไม่ค่อยมีคำอธิบาย ต้องฝึกงานหลายอย่าง บางร้านอาจกำหนดให้ฝึกงานถึง 3 เดือน ทำให้ภาพพจน์ของงานร้านอาหารไม่ค่อยจะดีนักสำหรับแรงงานญี่ปุ่น จึงเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้ายึดพื้นที่

    อันดับ 6-งานให้เช่าเครื่องใช้ อันนี้อาจคาดไม่ถึงแต่ในญี่ปุ่นมีการขาดแคลนคนที่จะดูแลกิจการให้เช่า ในปี 2559 ร้อยละของคนที่ทำงานนี้อายุเกิน 60 ปี ซึ่งจำนวนคนงานสูงอายุดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ งานประเภทนี้ในญี่ปุ่นถือเป็นงาน 3 D คือ Difficult, Dirty, และ Dangerous จึงไม่ค่อยมีใครอยากทำ อันดับ 5-งานก่อสร้าง จำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ลดลงเรื่อยๆ จาก 4.5 ล้านคน ในปี 2531 เหลือ 3.3 ล้านคนในปี 2554 และกำลังลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากงานประเภทนี้คนรุ่นใหม่ไม่ชอบทำเพราะเป็นงานประเภท 3 D  และสิ่งที่น่าวิตกคือในปีนี้ญี่ปุ่นกำลังจะจัดงานโอลิมปิกที่โตเกียวซึ่งจะต้องมีการก่อสร้างสนามกีฬาประเภทต่างๆ มากมายรวมทั้งสนามกีฬาใหญ่ และพบว่ามีการเอารัดเอาเปรียบแรงงานจำนวนมาก

    อันดับ 4-งานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) อันนี้เป็นเรื่องของการเตรียมงานโอลิมปิกซึ่งมีผู้เป็นห่วงว่าจะไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพียงพอ ร้อยละ 90 ของบริการ รปภ.เอกชนกำลังขาดแรงงาน ร้อยละ 80 ของบริษัทรปภ.บอกว่าเหตุผลส่วนหนึ่งคือค่าจ้างต่ำ และชั่วโมงทำงานสูงกว่างานอื่น อันดับ 3-พนักงานขับรถ งานนี้ส่วนใหญ่มากับบริการขายออนไลน์ เช่น You Tube Amazon Uber-food Grab-food ซึ่งต้องการพนักงานขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาก ปัญหานี้ในญี่ปุ่นส่วนหนึ่งมาจากการขอใบขับขี่รถสาธารณะค่อนข้างเข้มงวด

    อันดับ 2-งานเกษตรกรรม ในญี่ปุ่นในปัจจุบัน ร้อยละ 70 ของเกษตรกรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีผู้ให้ความเห็นว่าความยากของการเริ่มงานเกษตรกรรมทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากทำงานเกษตรกรรม เกษตรกรใหม่ต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ชาวนาญี่ปุ่นอาจมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 7 แสนเยน (เกือบ 2 แสนบาท) กว่าจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต

    และอันดับ 1-เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แทบไม่น่าเชื่อว่าในขณะที่อุตสาหกรรมไอทีขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลับพบว่ามีการขาดแคลนแรงงานเกิดขึ้น ตัวเลขประมาณการชี้ว่าในเวลา 10 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นจะขาดแคลนแรงงานไอทีถึง 8 แสนคน นอกจากความต้องการแรงงานไอทีจะเพิ่มจำนวนขึ้น คุณภาพก็ต้องมีการฝึกอบรมมากขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา งานไอทีเองก็ต้องใช้เวลาทำงานนาน ยาก แต่เงินเดือนไม่สูง รวมทั้งในญี่ปุ่นไม่ค่อยมีบริษัทเอกชนด้านไอที คนรุ่นใหม่จึงยังไม่ค่อยอยากทำ

    แรงงานญี่ปุ่นที่ต้องการ เพิ่มเติม

    อันดับ4

    งานโอเบนโตะ

    คุณรู้จักกล่องอาหารกลางวันที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นหรือไม่? ในบทความนี้เราจะพูดถึง โอเบนโตะ และวิธีการที่ญี่ปุ่นเปิดอาหารง่าย ๆ ในการทำงานศิลปะ

    ความคิดสร้างสรรค์และความสวยงามเป็นส่วนหนึ่งของอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น เบนโตะได้รับการปรุงด้วยความใส่ใจสูงสุดและคัดสรรส่วนผสมไม่เพียง แต่เพื่อรสชาติและโภชนาการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสีและรูปร่างด้วย

    กล่องอาหารกลางวันของญี่ปุ่นมีโทนศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปลักษณ์ของมื้ออาหารก็มีความสำคัญเช่นกัน แม้ว่า obento จะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้ดูเหมือนงานศิลปะ แต่ก็มักจะมีการจัดระเบียบ

    ในยุคเมจิ, นักเรียนที่ไม่ได้มีอาหารในโรงเรียน ดังนั้นครูและนักเรียนที่จำเป็นในการซื้อหรือใช้กล่องอาหารกลางวันจากบ้านซึ่งทำให้วัฒนธรรมของกัมมี่นี้และเบนโตะที่นิยมมาก

    กัมมี่ญี่ปุ่นได้รับเสมอจัด แต่ปีที่ผ่านมาคุณแม่ที่ต้องการโปรดเด็กของพวกเขาเริ่มต้นการสร้างตัวละครโดยใช้ส่วนผสมเช่นลูกข้าวที่มีใบหน้าที่ทำจากสาหร่ายโนริ

    เร็ว ๆ นี้แม่ถูกบังคับให้สร้างความสวยงาม โอเบนโตะ เด็ก ๆ ดังนั้นส่วนใหญ่ของ obents มี น่ารัก (เช่นน่ารัก) แม้แต่วิธีหั่นไส้กรอกก็ทำให้มื้ออาหารสวยงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น

    กล่องอาหารกลางวันตัวเองจะถูกห่อด้วยผ้าที่เรียกว่า ฟุโรชิกิแพคเกจญี่ปุ่นนิยมมากแบบดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วเปล่งเสียงศิลปะและการปฏิบัติบางอย่างภายในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

    เป้าหมายของคุณแม่คือการให้อาหารทางโภชนาการที่สมดุลและชื่นชอบความสุนทรีย์ ที่ของมารดาญี่ปุ่นไปทั่วสังคมและโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีแรกของโรงเรียน

    ที่มาของญี่ปุ่นกล่องอาหารกลางวันยังสามารถโยงไปถึงศตวรรษที่สามซึ่งเกษตรกรที่ไปทำงานเอาอาหารกลางวันของพวกเขาในหม้อที่ทำจากใบไผ่ นี้การพัฒนาอยู่ตลอดเวลาที่จะกล่องไม้

    บันทึกแสดงว่าใน สมัยคามาคุระ (1185 ถึง 1333) เรียกว่าข้าวแห้งและสุก hoshi-ii ที่ถูกพาไปทำงานในกระเป๋า

    ในช่วง อาซึจิ-โมโมยามะ (พ.ศ. 1568-1600) กล่องไม้ถูกผลิตขึ้นเพื่อเอาข้าวสุกที่บริโภคโดยทั่วไปในช่วงค. ศ ฮานามิ หรือพิธีชงชา

    ที่ สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603-1867) วัฒนธรรมโอเบนโตได้แพร่กระจายและได้รับการขัดเกลามากขึ้น นักท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวหยิบโคชิเบนโตะซึ่งประกอบด้วยโอนิกิริหลายชิ้นห่อด้วยใบไผ่ในกล่องไม้ไผ่

    บันทึกแรกของ Ekibento, ที่อยู่, กล่องอาหารกลางวันขายที่สถานีรถไฟมีการลงทะเบียนที่ ยุคเมจิ (พ.ศ. 2411-2455) ที่สถานี Utsunomiya. ตอนนั้นมีกระทะแซนวิชที่ได้รับแรงบันดาลใจจากยุโรป

    ที่ ช่วงไทโช (พ.ศ. 2455-2469) กล่องโอเบนโตอลูมิเนียมกลายเป็นที่นิยมเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด กล่องอาหารกลางวันในโรงเรียนญี่ปุ่นลดลงอย่างมากเนื่องจากในช่วงสงครามและความขาดแคลนกล่องเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งและความไม่เท่าเทียมกันของนักเรียน

    คุณรู้ความหมายของคำ โอเบนโตะเหรอ? คำ โอเบนโตะ [お弁当] ประกอบด้วย ideograms [การ弁] ที่เกี่ยวกับความแตกต่างและการแยกพร้อมกับ [当] ซึ่งหมายถึงการตีที่จะสำเร็จการนัดหยุดงาน ร่วมกันคำที่รูปแบบบางอย่างเช่น สะดวก.

    คำนี้มาจากภาษาจีน [便当] ซึ่งแปลว่าสะดวก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งเนื่องจากการรับประทานอาหารกล่องหรือซื้อจากร้านค้าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการรับประทานอาหาร

    版权归千图网所有,盗图必究

    อันดับ5

    งานทำความสะอาด

    อยากทำงานพนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศ มีเรื่องอะไรที่ควรรู้บ้าง ข้อมูลปี 2021

    พนักงานทำความสะอาด…

    เป็นหนึ่งในประเภทของงานที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน โรงเรียนและโรงแรม ก็ล้วนแล้วจะมีอาชีพพนักงานทำความสะอาดประจำอยู่ เพื่อทำความสะอาดให้กับสถานที่เหล่านี้ทั้งสิ้น

    เมื่อเห็นพนักงานทำความสะอาดสวมชุดแบบฟอร์มทำงานอยู่ตามสถานที่เหล่านี้จึงไม่น่าแปลกใจสักเท่าใดนัก แต่… หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าที่จริงแล้ว พนักงานทำความสะอาดกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานโลกเช่นกัน

    ถ้าหากใครกำลังสนใจอยากไปทำงานพนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศ ลองมาเจาะลึกทำความรู้จักกับอาชีพนี้กันก่อนดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรที่น่าสนใจ และควรรู้ก่อนเดินทางไปทำงาน ณ ต่างประเทศกันบ้าง!?

    พนักงานทำความสะอาด คืออะไร!?

    พนักงานทำความสะอาด หรือ “แม่บ้าน” คือ แรงงานที่มีหน้าที่ในการทำความสะอาดพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้มีความสะอาดอยู่เสมอ ทำให้อาชีพนี้มักที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งสกปรกอยู่เป็นประจำ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้จำนวนของพนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศลดน้อยลงทุกปีและมีความต้องการแรงงานพนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

    หน้าที่รับผิดชอบของพนักงานทำความสะอาด

    หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานทำความสะอาดส่วนใหญ่จะเป็นการทำความสะอาด และดูแลพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้อยู่ในความเรียบร้อย สะอาดในสายตาของผู้ที่พบเห็น และยังทำหน้าที่ในการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ทำความสะอาด รวมไปถึงน้ำยาสำหรับความสะอาดให้เพียงพอ ใช้งานอย่างเหมาะสมอีกด้วย

    คุณสมบัติของพนักงานทำความสะอาดที่เป็นที่ต้องการในต่างประเทศ

    สำหรับคุณสมบัติของพนักงานทำความสะอาดที่เรียกได้ว่าน่าสนใจ และบริษัทในต่างประเทศมีความต้องการอยากได้ตัวมารวมงานด้วยนั้น มีดังต่อไปนี้

    1.พนักงานทำความสะอาด ที่มีประสบการณ์เป็นแม่บ้านในออฟฟิศหรือโรงแรมมาก่อน

    2.พนักงานทำความสะอาด สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว

    3.พนักงานทำความสะอาด มีความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ

    4.พนักงานทำความสะอาด ที่มีความขยันขันแข็งในการทำงาน

    5.พนักงานทำความสะอาด ที่มีอัธยาศัยที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสและสุภาพ

    6.พนักงานทำความสะอาด ที่มีความเป็นมืออาชีพสามารถแบ่งเวลาและประเภทการทำงานให้เรียบร้อยในเวลาที่กำหนด

    7.พนักงานทำความสะอาด ที่สามารถปฏิบัติติงานตามตารางที่หัวหน้ากำหนดให้อย่างถูกต้องตามลำดับ

    8.พนักงานทำความสะอาด ที่ปฏิบัติตามกฎของบริษัทและลูกค้าอย่างเคร่งครัด

    9.พนักงานทำความสะอาด ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างยืดหยุ่น

    10.พนักงานทำความสะอาด ที่สามารถรักษามาตราฐานของงานได้อย่างเคร่งครัด

    11.พนักงานทำความสะอาด ที่ได้รับการอบรมทักษะการทำงานที่ได้มาตรฐาน

    เปิดรับบ่อยในต่างประเทศ

    มาลองทำความรู้จักกับประเภทของพนักงานทำความสะอาด ที่ต่างประเทศมีการเปิดรับสมัครกันบ่อยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง!?

    1.พนักงานทำความสะอาด ประจำสำนักงาน

    2.พนักงานทำความสะอาด ประจำโรงงาน

    3.พนักงานทำความสะอาด ประจำโรงแรม

    4.พนักงานทำความสะอาด ประจำบ้าน

    5.พนักงานทำความสะอาดรถยนต์

    6.พนักงานทำความสะอาดแบบ Part-Time

    7.พนักงานทำความสะอาดกระจกบนอาคารสูง

    ประเทศไหนบ้างที่มักเปิดรับสมัครชาวต่างชาติมาทำงานพนักงานทำความสะอาด

    สำหรับประเทศที่มักเปิดรับชาวต่างชาติมาร่วมทำงานในอาชีพของพนักงานทำความสะอาด มีดังต่อไปนี้

    1.พนักงานทำความสะอาดในประเทศสวีเดน

    2.พนักงานทำความสะอาดในประเทศญี่ปุ่น

    3.พนักงานทำความสะอาดในประเทศแคนาดา

    4.พนักงานทำความสะอาดในประเทศอังกฤษ

    5.พนักงานทำความสะอาดในประเทศนอร์เวย์

    6.พนักงานทำความสะอาดในประเทศอิตาลี

    7.พนักงานทำความสะอาดใน มาเก๊า

    8.พนักงานทำความสะอาดในประเทศเกาหลีใต้

    ทำงานพนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศคุ้มค่าหรือเปล่า!?

    พนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศให้ผลตอบแทนมากกว่าที่คิด…

    เพราะหากทำการเปรียบเทียบเฉพาะรายได้กับในประเทศไทย ก็ถือว่าพนักงานทำความสะอาดได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

    นอกจากนี้ พนักงานทำความสะอาดในต่างประเทศก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติเหมือนกับอาชีพอื่น ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงไม่น่าแปลกใจนักที่หลายคนจะพยายามหาลู่ทางไปทำงานต่างประเทศด้วยงานพนักงานทำความสะอาดกัน…

    อันดับ6

    งานก่อสร้าง (นั่งร้าน)

    นั่งร้าน  คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในงานก่อสร้าง และงานซ่อมแซม สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงานขึ้นไป ก่อสร้างหรือซ่อมแซม และวางวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในการทำงาน เมื่อทำงาน จนเสร็จภารกิจนั้นแล้ว  นั่งร้านนั้นจะถูกรื้อถอน ตามกำหนดของแผนงานที่วางเอาไว้

    วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และสิ่งแวดล้อม โดย ส่วนใหญ่นั่งร้านนั้น จะทำจากเหล็กท่อ และมีแผ่นพื้นสำหรับรองรับผู้ปฏิบัติงาน หรือวางวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ซึ่งออกแบบโดยวิศวกร หรือ ผู้ผลิตของแต่ละประเทศ  แต่ในประเทศไทยนั้น สมัยก่อนนิยม ใช้ไม้ไผ่ นำมาสร้างนั่งร้าน เพื่อก่อสร้าง และทำงานบนที่สูง ปัจจุบันก็ยังพบเห็นนั่งร้านไม้ไผ่ ถูกนำมาใช้งานในการสร้างนั่งร้าน เพื่อก่อสร้างหรือซ่อมแซม ตัวอย่าง เช่นการสร้างตึกสูง  คอนโด บ้าน อาคาร วัด สะพาน  หรือ งานทาสี แต่ในการใช้ ไม้ไผ่สร้างนั่งร้านนั้น ผู้ที่ติดตั้งจะต้องเป็นวิศวกร หรือ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะนั่งร้านที่เป็นไม้ไผ่ ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ ไม่น้อยกว่าสี่เท่า ของน้ำหนักบรรทุก  แต่ถ้าเป็น เหล็กท่อ ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่า ถ้าเป็นนั่งร้านของต่างประเทศไม่น้อยกว่าสี่เท่าทั้งหมด

    การใช้นั่งร้านไม้ไผ่นั้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เพราะโดยส่วนใหญ่คนสมัยก่อนนั้น ไม่มีอุปกรณ์ ในการป้องกันการตกจากที่สูง จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงาน พลัดตกจากที่สูงได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต บ่อยครั้ง มีข่าวออกทางทีวีเป็นประจำ  ไม่ว่าจะเกิดจากการตกจากที่สูงหรือ นั่งร้านพังทลาย ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพไม้ไผ่และอายุการใช้งานนั้นด้วย เพราะจริงๆแล้วไม้ไผ่ที่นำมาสร้างนั่งร้านนั้น จะต้องเป็นไม้สด สีเขียว จึงจะสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับช่างนั่งร้านนั้นด้วย ในการประกอบติดตั้ง เป็นไปตามแบบที่วางเอาไว้ หรือสร้างด้วยความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งอาจจะทำให้นั่งร้าน พังทลายได้เหมือนกันคนที่ทำงานกับนั่งร้านควรได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย ก่อนเริ่มทำงาน เช่น อบรมนั่งร้าน อบรมที่สูง อบรมไฟฟ้า เป็นต้น และวิธีการเก็บรักษาไม้ไผ่สดนั้น เมื่อใช้นั่งร้านแล้ว รื้อถอน เสร็จ จะต้องนำไม้ไผ่นั้นแช่น้ำเอาไว้ เพื่อให้ไม้ไผ่นั้นอยู่ คงสภาพเดิม  ปัจจุบัน ก็หาดูได้ยากแล้ว พอรื้อถอน นั่งร้านเสร็จ ช่างนั่งร้านนั้นก็จะเอาไม้ไผ่ กองรวมๆกันไว้ จึงทำให้ไม้ไผ่ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ กายเป็นไม้ไผ่สีน้ำตาล หรือ ไม้ไผ่แห้ง

    ประเภทของนั่งร้าน ที่ใช้งานทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 6 ประเภท

    1. นั่งร้านไม้ไผ่
    2. นั่งร้านเสาเรียงเดียว
    3. นั่งร้านเสาเรียงคู่
    4. นั่งร้านแบบใช้เหล็กท่อประกอบ
    5. นั่งร้านแบบแขวนยื่น
    6. นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้

    นั่งร้านแต่ละประเภท มีความเหมาะสมตามลักษณะงาน หรือสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับงบประมาณนั้นด้วย ผู้ใช้งานจะต้องเลือกนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพงาน และสถานที่มาใช้งาน และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานด้วย เช่น

    1. สภาพความเหมาะสมของสถานที่ทำงาน
    2. น้ำหนักบรรทุกที่จะใช้งาน
    3. งบประมาณ ความประหยัด ของนายจ้าง
    4. ความสะดวกในการติดตั้งหรือรื้อถอน

    ทั้งนี้ ก็อาจจะขึ้นอยู่กับ วิศวกร หรือ ผู้ว่าจ้างนั้นด้วย ส่วนใหญ่เราจะได้ยินข่าวกัน เป็นประจำทางทีวี หรือ ทาง Social ไม่ว่าจะเป็น คนงานตกที่สูง คนงานตกนั่งร้าน ของตกใส่คนงานด้านล้าง  นั่งร้านพังทลาย คนงานถูกไฟฟ้าช็อตตกลงมา  ตั้งนั่งร้านใกล้สายไฟ  เป็นต้น สาเหตุต่างๆ ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องของโชคชะตา หรือ เคราะห์กรรมไหมครับ  ส่วนตัวผมคิดว่า ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของคนงานเอง และที่ตามมาก็อาจจะเป็นการวางแผนในการทำงานไม่ดี  ส่วนอุปกรณ์นั้นก็มีส่วน เช่น อุปกรณ์ชำรุด ไม่ได้มีการตรวจสอบก่อนการใช้งาน  และไม่มีการปฏิบัติตามที่กฎหมายนั่งร้านกำหนด ทีนี้เดี๋ยวจะยกตัวอย่างการเกิดอุบัติเหตุให้ดูนะครับ 

    กรณีศึกษาอุบัติเหตุ 

    มีผู้รับเหมาเจ้าหนึ่งได้งานทาสีตึกสูงมีความสูงจากพื้นดิน 7 เมตร ไม่สามารถขึ้นอาคารทาสีได้เลย ช่างจะต้องติดตั้งนั่งร้านแบบล้อเลื่อน หัวหน้างานก็ให้คนงานติดตั้ง นั่งร้านแบบล้อเลื่อนขึ้นมา ประมาณ 6.5  เมตร เมื่อติดตั้งนั่งร้านเสร็จแล้ว หัวหน้างานก็ ให้คนงานขึ้นไปทำงานเลย  พอคนงานทำงานไปได้ระยะ หนึ่ง จำเป็นที่จะย้ายนั่งร้านไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งก็อยู่ติดกัน คนงานขาดการอบรม และชี้แจง ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่ด้านล่างนั้น มาดันหรือย้ายนั่งร้านให้ โดยที่ตัวเองไม่ลงมาจากนั่งร้านก่อน  เลยทำให้คนงานคนนี้พลัดตกลงมาจากด้านบน ทำให้คนงานบาดเจ็บสาหัส แขนซ้ายท่อนล่างหัก ขามีแผลขนาดใหญ่ ถามตอบไม่รู้เรื่อง เห็นไหมครับว่า ถ้าคนงานมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานที่สูง ก็อาจจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ขึ้นได้ ที่สำคัญนายจ้างหรือหัวหน้างาน จะต้องมีการวางแผนอบรมการทำงานกับนั่งร้าน หรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบ ขั้นตอนการทำงานก่อนทำงานทุกครั้ง และที่สำคัญอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมใส่อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการที่ปฏิบัติด้วยนะครับ

    อันดับ7

    งานแปรรูปปลาคัตสึโอะ

    คัตสึโอะบูชิ หรือ ปลาโอแห้ง เป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นที่ทุกคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากเมนู “โอโคโนมิยากิ” เป็นอย่างดี โดยมักจะนำปลาโอแห้งขูดฝอยมาโรยบนโอโคโนมิยากิร้อน ๆ ความร้อนจะทำให้ปลาโอแห้งขูดฝอยขยับพริ้วไหวไปมาราวกับมีชีวิต หลายคนอาจจะนึกภาพคัตสึโอะบูชิก่อนถูกนำมาขูดฝอยไม่ออก และอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนว่า “คัตสึโอะบูชิ” ถูกบันทึกสถิติกินเนสส์ว่า “เป็นอาหารที่แข็งที่สุดในโลก”

    ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับ “คัตสึโอะบูชิ” วัตถุดิบพื้นฐานของอาหารญี่ปุ่น ถึงขั้นตอนการผลิต วิธีการใช้ และระดับความแข็ง ที่ทำให้มันกลายเป็นอาหารที่แข็งที่สุดในโลกกันค่ะ!

    ต้นกำเนิดคัตสึโอะบูชิ?

    คัตสึโอะบูชิ เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารที่ชาวญี่ปุ่นใช้กันอย่างแพร่หลายช่วงหลังยุคมุโรมาจิ (ค.ศ. 1336-1573) โดยในยุคก่อนหน้าที่ชาวญี่ปุ่นจะบริโภคปลาโอแห้งแบบขูดฝอยอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั้น ชาวญี่ปุ่นมักนำปลาโอที่ตากแห้งด้วยวิธีรมควัน หรือที่เรียกว่า “ไบคัง” (焙乾) มาต้มเพื่อนำน้ำซุปมาเป็นเครื่องปรุงสำหรับประกอบอาหารของชนชั้นสูง

    วัฒนธรรมการทานคัตสึโอะบูชิ เริ่มมาจากการเผยแพร่เทคนิคการรมควันที่เรียกว่า “ไบคัง” (焙乾) จากแคว้นคิชู (紀州藩 หรือจังหวัดวะกะยะมะในปัจจุบัน) ไปยังแคว้นโทซะ (土佐藩 หรือจังหวัดโคจิในปัจจุบัน) โดยในยุคนั้น แคว้นโทซะได้นำเทคนิคการรมควันมาแปรรูปปลาโอที่มีรอยช้ำเป็นตำหนิง่าย ก่อนนำไปแลกเปลี่ยนค้าขายในประเทศกับเมืองหลวงเก่าอย่างเอโดะและโอซาก้า จนกลายเป็นต้นกำเนิดของคัตสึโอะบูชิในปัจจุบัน

    ขั้นตอนการผลิตคัตสึโอะบูชิ

    ขั้นตอนการผลิตคัตสึโอะบูชิในปัจจุบัน มีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

    1. ปลาโอ ได้มาจากการจับ 2 แบบ คือ การประมงชายฝั่งทะเล และ การประมงกลางมหาสมุทร โดยปลาโอที่ได้จากชายฝั่งทะเลจะถูกเก็บรักษาในน้ำแข็ง ส่วนปลาโอที่ได้จากการประมงกลางมหาสมุทร จะถูกเก็บรักษาโดยผ่านเย็นอุณหภูมิต่ำอย่างรวดเร็ว และนำไปแช่น้ำก่อนขนย้ายขึ้นท่าเรือ

    2. ปลาโอแช่แข็งจะถูกนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนให้น้ำแข็งละลาย จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการส่วนหัวและนำเครื่องในปลาออก

    3. ปลาโอที่ถูกล้างสะอาดจะถูกนำไปต้มด้วยวิธีที่เรียกว่า “ชะจุคุ” (煮熟) ในน้ำร้อนอุณภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60-90 นาที จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนแล่เนื้อปลา โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน และดึงก้างปลาที่ติดส่วนเนื้อออกทั้งหมด

    4. หลังจากตัดแต่งและนำก้างปลาออก ปลาโอจะถูกนำไปรมควัน หรือที่เรียกว่า “ไบคัง” (焙乾) เพื่อให้มีกลิ่นหอม โดยจะทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนเนื้อปลาแห้ง จากนั้นปลาโอจะถูกนำมาตัดแต่งอีกครั้ง เพื่อนำไขมันที่ติดอยู่ผิวเนื้อปลาออก เพื่อให้เชื้อราสามารถซึมเข้าสู่ข้างในเนื้อปลาได้ง่ายขึ้น

    5. การทำงานของเชื้อราที่เกิดขึ้นในปลาโอแห้งนั้น จะทำให้ปลาโอแห้งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น และมีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยปลาโอจะถูกนำไปอบแห้งให้เกิดเชื้อรา ทำซ้ำ 2-4 ครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้ จะทำให้ปลาโอแข็งตัวนั่นเอง

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น